สลิปเงินเดือน
สลิปเงินเดือนเป็นเอกสารที่ไม่ค่อยได้เห็นกันง่าย ๆ เนื่องจาก เป็นเอกสารส่วนตัว โดยทั่วไปแล้ว จะสำคัญกับพนักงานที่อยู่ในรูปแบบบริษัท เนื่องจาก จำเป็นต้องมีการจ่ายเงินเดือนอยู่เป็นประจำทุก ๆ เดือน การออกสลิปเงินเดือนนั้น หากเป็นเจ้าของกิจการก็สามารถทำได้เนื่องจาก ไม่ได้มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน แต่หลัก ๆ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 1 จัดทำเองเป็นรูปแบบกระดาษธรรมดา 2. เป็นรูปแบบตายตัวที่ขายแบบกระดาษคาร์บอน
- 1. จัดทำเองเป็นรูปแบบกระดาษธรรมดา โดยส่วนมากการออกแบบจากกระทำเองจะสามรถปรับแต่ง หรือ ออกแบบตามความต้องการ หรือระบุสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็น หรือเกี่ยวข้องกับ บริษัทเราได้ แต่ข้อเสียอาจมีการปลอมแปลงได้ง่าย ความน่าเชื่อถืออาจจะน้อยกว่าแบบกระดาษคาร์บอน เนื่องจากสามรถปลอมแปลงได้ยาก เนื่องจาก สลิปเงินเดือนมีความสำคัญในการยื่นกู้ขอสินเชื่อต่าง ๆ โดยมีการพิจราณาจากสถาบันการเงิน เป็นหลัก จึงอาจมองความน่าเชื่อถือที่มากกว่าเพื่อใช้เป็ฯองค์ประกอบ นั้นเอง
- 2. สลิปเงินเดือนปริ้นต์จากกระดาษคาร์บอน ควรเป็นสลิปเงินเดือนที่พรินต์จากกระดาษคาร์บอน เพราะกระดาษคาร์บอนจะปลอมแปลงเอกสารได้ยาก และสำหรับในขั้นตอนการพิจารณาการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคล สลิปเงินเดือนคาร์บอนมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเพราะสลิปเงินเดือนที่บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานของคุณแล้ว ยังช่วยให้สถาบันการเงินได้รู้ถึงเงินเดือน รายรับต่าง ๆ โอที และรายได้พิเศษที่ระบุเอาไว้ ส่งผลถึงการพิจารณาอนุมัติเงินกู้เป็นจำนวนหลายเท่า ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารที่คุณทำการยื่นกู้ด้วย
ตัวอย่าง สลิปเงินเดือน
ข้อมูลสำคัญที่ควรมีในสลิปเงินเดือน
- 1. ข้อมูลพนักงาน – ชื่อ,นามสกุล,ตำแหน่งพนักงาน
- 2. ข้อมูลบริษัท – ชื่อบริษัท ,เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
- 3. ข้อมูลวันที่จ่ายเงินได้
- 4. แจกแจงรายละเอียดของรายได้ เช่น เงินเดือน โอที ค่าคอมมิชชั่น และรายการหักต่างๆ
- 5. สรุปรายได้สุทธิของพนักงานทั้งภายในเดือนที่จ่ายและรายได้สะสมที่เคยทำมา
สลิปเงินเดือนสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง
- 1.ใช้ทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น ทำบัตรเครดิต กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ ใช้ขอStatementจากธนาคาร
- 2.ใช้ในการสมัครงาน เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้เคยทำงานให้กับบริษัทก่อนหน้านี้จริง
- 3.ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นภาษี ในกรณีที่ สรรพากรต้องการตรวจสอบเงินได้เพิ่มเติมของเรา
ปัจจุบันระบบ สลิปเงินเดือนอาจไม่ได้อยู่ในรูปแบบของกระดาษเหมือนเคย จากเดิม แต่มีผู้พัฒนาระบบทำให้ สลิปเงินเดือนที่จากเป็นกระดาษมาเป็นระบบออนไลน์ซึ่งทำให้การแจ้งข้อมูลเงินเดือน ได้รวดเร็ว และแม่นยำมากยิ่งขึ้น
ใบรับรองเงินเดือน
หนังสือรับรองเงินเดือน คือหนังสือที่เป็นเอกสารหลักฐานของรายได้ที่ได้รับจากบริษัทต่อเดือน โดยในหนังสือรับรองเงินเดือนจะระบุข้อมูลสำคัญต่างๆเอาไว้ เช่น ข้อมูลบริษัท นายจ้าง คำรับรองชื่อ-นามสกุลของพนักงาน ตำแหน่งพนักงาน และระยะเวลาการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันในบริษัทนั้นๆ อัตรเงินเดือน ลายมือชื่อผู้รับรอง วันที่ และตราประทับของบริษัท
ใบรับรองเงินเดือนสมัครบัตรเครดิต
การสมัครบัตรเครดิตคือตัวช่วยที่จะทำให้คุณสามารถกู้เงินจากสถาบันทางการเงินเพื่อมาซื้อสินค้า หรือชำระค่าบริการต่าง ๆ โดยที่คุณสามารถชำระหนี้ได้ในภายหลังหรือจะผ่อนจ่ายเป็นรายเดือนก็ได้แต่ต้องมีความระมัดระวังและวางแผนการผ่อนจ่ายให้ดีเนื่องจากวิธีผ่อนจ่ายนั้นอาจจะมีดอกเบี้ยตามมาด้วย
- เอกสารสำคัญที่ใช้ในการสมัครบัตรเครดิต
- 1. บัตรประจำตัวประชาชน
- 2. สลิปเงินเดือน
- 3. ใบรับรองเงินเดือน
- 4. สำเนาทะเบียนบ้าน
- 5. สมุดเงินฝากธนาคาร
- 6. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Statement)
ใบรับรองเงินเดือน ออกรถ
การจะซื้อรถยนต์หนึ่งคันนั้น ถือเป็นหนึ่งในการก่อหนี้ก้อนใหญ่ในอนาคตเนื่องจากผู้คนส่วนมากก็นิยมที่จะออกรถแบบผ่อนระยะยาวแทนการซื้อเงินสดอยู่แล้ว ยิ่งสมัยนี้ผู้จำหน่ายก็มักจะมีโปรโมชั่นต่างๆมาเพื่อทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อมากยิ่งขึ้น ทำให้อุตาหกรรมรถยนต์นั้นมีการเติบโตเป็นอย่างมาก และในการที่ผู้บริโภคต้องการซื้อรถยนต์โดยการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินนั้นจะต้องเตรียมเอกสารสำคัญต่างๆให้แก่ผู้จำหน่ายดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดาต้องการออกรถเตรียมเอกสารดังนี้
- 1. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน 3 ชุด
- 2. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ค้ำประกัน 3 ชุด
- 3. สลิปเงินเดือน 1 ชุด
- 4. ใบรับรองเงินเดือน 1 ชุด
- 5. รายการเดินบัญชีย้อนหลัง (Statement) 6 เดือน 1 ชุด
ใบรับรองเงินเดือนกรมขนส่งการเกษตร ขอได้ตามลิ้งนี้ http://previously.doae.go.th/salary/
เงินเดือนข้าราชการ
โครงสร้างค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญ ในระบบค่าตอบแทนของข้าราชการพลเรือนสามัญสามารถจำแนกค่าตอบแทนออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
- เงินเดือนพื้นฐาน (Base Salary) เป็นค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญทุกคนตามประเภทตำแหน่งและระดับตำแหน่ง เพื่อสะท้อนถึงขนาดของงาน (Job Size) ผลงาน (Performance) และสมรรถนะ (Competency) โดยแบ่งออกเป็น 4 บัญชี ตามประเภทตำแหน่ง ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป
- ค่าตอบแทนลักษณะอื่น ๆ (Allowance) เป็นค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับข้าราชการพลเรือนสามัญตามลักษณะงาน ตำแหน่งงาน สภาพการทำงาน หรือลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ค่าตอบแทนลักษณะนี้สามารถเป็นกลไกในการสร้างแรงจูงใจและปรับค่าตอบแทน ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ในปัจจุบันประกอบด้วยค่าตอบแทนหลายลักษณะภายใต้กฎและระเบียบที่แตกต่างกันออกไป เช่น เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษ เงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน เงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้ เงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว นอกจากนี้ ในบางส่วนราชการมีการกำหนดค่าตอบแทนในลักษณะอื่น ๆ ได้ เช่น เงินรางวัล ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เป็นต้น
-
สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล (Benefit/Fringe Benefit)
- สวัสดิการ คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการในฐานะที่เป็นสมาชิกส่วนหนึ่งขององค์การ เพื่อช่วยให้มีความมั่งคงในการดำรงชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งออกเป็นสวัสดิการที่เป็นตัวเงิน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ บำเหน็จความชอบ และบำเหน็จ บำนาญ ในส่วนของสวัสดิการที่ไม่เป็นตัวเงินนั้นจะประกอบด้วย การลาประเภทต่าง ๆ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ประโยชน์เกื้อกูล คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ข้าราชการ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการค่าเช่าบ้าน เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ รถประจำตำแหน่ง และโทรศัพท์มือถือ
- เงินรางวัลประจำปี (Bonus) เป็นค่าตอบแทนที่จ่ายให้กับข้าราชการในลักษณะเงินรางวัลประจำปีของหน่วยงาน โดยมีการจัดสรรให้กับข้าราชการในองค์กรเพื่อเป็นแรงจูงใจในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ และเป็นการเชื่อมโยงค่าตอบแทนกับผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการและข้าราชการ โดยส่วนราชการจะมีการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ และมีการประเมินผลเป็นประจำทุกปีร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทบริหาร
บาท | บาท | |
---|---|---|
ขั้นสูง | 74,320 | 76,800 |
ขั้นต่ำ | 51,140 | 56,380 |
ขั้นตำ่ชั่วคราว | 24,400 | 29,980 |
ระดับ | ต้น | สูง |
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทอํานวยการ
บาท | บาท | |
---|---|---|
ขั้นสูง | 59,500 | 70,360 |
ขั้นต่ำ | 26,660 | 32,850 |
ขั้นต่ำชั่วคราว | 19,860 | 24,400 |
ระดับ | ต้น | สูง |
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทวิชาการ
บาท | บาท | บาท | บาท | บาท | |
---|---|---|---|---|---|
ขั้นสูง | 26,900 | 43,600 | 58,390 | 69,040 | 76,800 |
ขั้นต่ำ | 8,340 | 15,050 | 22,140 | 31,400 | 43,810 |
ขั้นต่ำชั่วคราว | 7,140 | 13,160 | 19,860 | 24,400 | 29,980 |
ระดับ | ปฏิบัติการ | ชำนาญการ | ชำนาญการพิเศษ | เชี่ยวชาญ | ทรงคุณวุฒิ |
บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภททั่วไป
บาท | บาท | บาท | บาท | |
---|---|---|---|---|
ขั้นสูง | 21,010 | 38,750 | 54,820 | |
ขั้นต่ำ | 4,870 | 10,190 | 15, | |
ปฏิบัติการ | ชำนาญการ | อาวุโส | ทักษะพิเศษ |
เงินเดือนข้าราชการ 2564
กำหนดวันจ่ายเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้าง ปี2564 (ฉบับจริง) – พร้อมบอกวันเงินเดือน
ข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง
เว็บไซต์กรมบัญชีกลาง ได้เผยแพร่ ปฏิทินการปฏิบัติงานโครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้างประจำ สำหรับ “ส่วนราชการ” ประจำเดือน มกราคม 2564 – ธันวาคม 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำหนดวันจ่ายเงินเดือน ของแต่ละเดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2564 และบอกว่าแต่ละเดือน เงินเดือนเข้าบัญชีข้าราชการและลูกจ้าง วันไหน
ข้อมูลจาก กรมบัญชีกลาง
เดือน | เงินเดือนเข้าบัญชีข้าราชการและลูกจ้าง ประจำปี 2564 |
---|---|
มกราคม | วันที่ 26 มกราคม 2564 |
กุมภาพันธ์ | วันที่ 22 กุภาพันธ์ 2564 |
มีนาคม | วันที่ 26 มีนาคม 2564 |
เมษายน | วันที่ 27 เมษายน 2564 |
พฤษภาคม | วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 |
มิถุนายน | วันที่ 25 มิถุนายน 2564 |
กรกฎาคม | วันที่ 23 กรกฎาคม 2564 |
สิงหาคม | วันที่ 26 สิงหาคม 2564 |
กันยายน | วันที่ 27 กันยายน 2564 |
ตุลาคม | วันที่ 26 ตุลาคม 2564 |
พฤศจิกายน | วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 |
ธันวาคม | วันที่ 27 ธันวาคม 2564 |
เงินเดือนข้าราชการ 2563
ในปีพ.ศ.2563 กรมบัญชีกลางได้จัดทำข้อมูลเผยแพร่แก่ข้าราชการและลูกจ้างปประจำเกี่ยวกับกำหนดการจ่ายเงินเดือนและการจ่ายเงินบำนาญของข้าราชการปี 2563 ดังนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
-
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต4 ปทุมธานี – สระบุรี (สพม4)
-
- http://www.sspsksom.net/money/index.php สพม.4
-
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต19 เลย – หนองบัวลำภู (สพม19)
-
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต20 อุดรธานี (สพม20)
-
- https://epay.sesago.th/ สพม.20
-
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต22 นครพนม – มุกดาหาร (สพม22)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต23 สกลนคร (สพม23)
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต30 ชัยภูมิ (สพม30)
เงินเดือนครู
เงินเดือนครู
อาชีพครูนั้นมีทั้งที่เป็นครูของโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชน ซึ่งโรงเรียนทั้งสองประเภทก็จะมีอัตราเงินเดือนที่ต่างกันไป ดังนี้
อัตตราจ้างครูโรงเรียนรัฐ ตามพระราชบัญญัติ เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจําตําแหน่ง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๘
ระดับครูผู้ช่วย | มีฐานเงินเดือนอยู่ที่ 15,00 -27,500 บาท |
ระดับ คศ.1 (ตำแหน่งที่ผ่านครูผู้ช่วยมาแล้ว 2 ปี) | เงินเดือนอยู่ที่ 15,440 – 34,310 บาท |
ระดับ คศ.2 (วิทยฐานะครูชำนาญการ) | เงินเดือนอยู่ที่ 16,190 – 41,620 บาท |
ระดับ คศ.3 (วิทยฐานะชำนาฐการพิเศษ) | เงินเดือนอยู่ที่ 19,860 – 58,390 บาท |
ระดับ คศ.4 (วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ) | เงินเดือนอยู่ที่ 24,400 – 69,00 บาท |
ระดับ คศ.5 (วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ) | เงินเดือนอยู่ที่ 29,980 – 76,800 บาท |
อัตตราจ้างครูโรงเรียนเอกชนมีดังนี้ ตามประกาศ พ.ร.บ.เงินเดือนข้าราชการครู มีรายละเอียดดังนี้…
- – อนุปริญญา เงินเดือนอยู่ที่ 11,840 บาท
- – ปริญญาตรี เงินเดือนอยู่ที่ 15,000 บาท
- – ปริญญาโท เงินเดือนอยู่ที่ 17,500 บาท
- – ปริญญาเอก เงินเดือนอยู่ที่ 21,000 บาท
จากตารางข้างต้นจะเป็นเกณฑ์พื้นฐานที่กำหนด แต่ทางครูและโรงเรียนสามารถตกลงเงินเดือนกันเองได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าที่มาตรฐานกำหนด
วิธีคิดเปอร์เซ็นเงินเดือนครู
วิธีการคำนวณเงินเดือนครู ตามวิทยฐานะแบบเป็นเปอร์เซ็น ที่เทียบกับค่ากลางของฐานเงินเดือน เพื่อป็นแนวทางให้คุณครูได้ลองคำนวนเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเงินได้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- 1. เช็คว่าตัวเองอยู่ในระดับใด
- 2. เช็คว่าช่วงเงินเดือนของตัวเองนั้นอยู่ในช่วงไหน
- 3. เช็คว่าเงินเดือนที่เราเช็คไปนั้น อยู่ในระดับบน หรือระดับล่าง
- 4. นำค่ากลาง ไป คูณ เปอร์เซ็นที่ได้ และหารด้วย 100 (ไม่ว่าจะได้เศษเท่าไหร่ให้ปัดเป็นหลักสิบทันที เช่น 501 ให้ปัดเป็น510บาท)
วิธีคิดเงินเดือนครู ตัวอย่าง
ครูวิน อยู่โรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งดำรงวิทยฐานะ คศ.2 เงินเดือน 25,860 บาท
1.เทียบในตาราง อยู่ในช่วง 16,190 – 30,200 และอยู่ในฐานล่าง ของ คศ.2
2.มีค่ากลางเท่ากับ 30,200บาท ถ้าในเดือนคุลาคมนี้ได้รับเปอร์เซ็น 3.05% จะได้เงินเดือนเพิ่มดังนี้
30200 * 3.05 / 100 = 921.10
ให้ปัดเป็น 930 บาท ซึ่งจะหมายความว่า ครูวินจะได้รับงินเดือนเพิ่ม 930 บาท
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 26 มกราคม 2021 โดย Administrator