Click to rate this post!
[Total: 147 Average: 5]
สมรรถภาพทางกาย
ประเภทของสมรรถภาพทางกายและการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
ประเภทของสมรรถภาพทางกาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 สมรรถภาพทางกายทั่วไป (General Physical Fitness)
- ความเร็ว (Speed) เป็นการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้ระยะเวลา สั้นที่สุด ความเร็วของการเคลื่อนไหวขึ้นอยู่กับการทํางานของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ การเปลี่ยนแปลงความเร็วเกิดจากการสั่งการของระบบประสาท ความเร็วในการออกกําลังกายแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การเคลื่อนไหวที่ต้องอาศัยความชํานาญเป็นพิเศษ เช่น ว่ายน้ำ ตีเทนนิส และการเคลื่อนไหว แบบธรรมดา เช่น การเดิน การวิ่ง
- พลังกล้ามเนื้อ (Muscle Power) เป็นการทํางานของกล้ามเนื้อที่รวดเร็วและแรง ในจังหวะของกล้ามเนื้อหดตัวหนึ่งครั้ง เช่น ยืนกระโดดไกล พลังของกล้ามเนื้อเกิดจากการหดตัวของ กล้ามเนื้อหลายๆ มัด ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวในกล้ามเนื้อกลุ่มเดียวกันที่ทํางานประสานกับกล้ามเนื้อ ของกลุ่มตรงข้าม และกลไกในการทํางานของกระดูกกับกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้อง
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) เป็นการหดตัวของกล้ามเนื้อ เพียงครั้งเดียวโดยไม่จํากัดเวลา ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยลดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง
- ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscle Endurance, Anaerobic Capacity) เป็นการทํากิจกรรมซ้ําๆ ของกล้ามเนื้อเป็นเวลานานอย่างมีประสิทธิภาพ การเสริมสร้างความอดทนของ กล้ามเนื้อทําให้ระบบไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ และระบบกล้ามเนื้อ ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความคล่องตัว (Agility) เป็นการบังคับและควบคุมการเปลี่ยนทิศทางของร่างกาย ในการเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็วและแน่นอน ความคล่องตัวมีผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติกิจกรรม ทุกอย่างที่ต้องการความรวดเร็วและถูกต้อง เช่น การวิ่งได้เร็ว หยุดได้เร็ว และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนได้รวดเร็ว
- ความอ่อนตัว (Flexibility) เป็นการเคลื่อนไหวอย่างกว้างขวางของข้อต่อต่างๆ ความอ่อนตัวเป็นพิกัดการเคลื่อนไหวของข้อต่อ (The Range of Motion at a Joint) แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ พิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ข้อต่อเคลื่อนไหวช้า (Static Flexibility) และพิกัดการเคลื่อนไหวขณะที่ ข้อต่อเคลื่อนไหวเร็วๆ (Dynamic Flexibility)
- ความอดทนทั่วไป (General Endurance) เป็นการที่ระบบต่างๆ ในร่างกายที่ ทํางานได้นานและมีประสิทธิภาพ ความอดทนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ความอดทนของระบบ ไหลเวียนและระบบหายใจ (Circulo-respiratory Endurance) ความอดทนของกล้ามเนื้อแต่ละแห่งใน ร่างกาย (Local Muscle Endurance)
1.2 สมรรถภาพทางกายพิเศษ (Special Physical Fitness) เป็นความสามารถใน การทํางานเฉพาะอย่างของกลไกในร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่
- การทรงตัว (Balance) เป็นการรักษาสมดุลของร่างกายในขณะอยู่กับที่หรือ เคลื่อนไหว
- กําลัง (Power) เป็น การเคลื่อนไหวร่างกายทันทีทันใด โดยที่ร่างกายใช้แรง จํานวนมาก
- ความคล่องแคล่ว (Agility) เป็นการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ร่างกายสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวได้
- ความเร็ว เป็นความสามารถ ในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วจากที่หนึ่งไปยัง อีกที่หนึ่ง
- เวลาเคลื่อนไหว เป็นการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายจากจุดหนึ่งไปยัง อีกจุดหนึ่ง เช่น การวัดเวลาการเคลื่อนไหวของแขนกับหัวไหล่โดยการขวางลูกบอลให้ไกลที่สุด
- เวลาปฏิกิริยา เป็นระยะเวลาที่จําเป็นต้องใช้เคลื่อนไหว เพื่อการตอบสนองต่อ สิ่งเร้าเฉพาะอย่าง
- การทํางานประสานสัมพันธ์ เป็นการสั่งการของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ให้มีความสัมพันธ์กัน
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
การทดสอบสมรรถภาพทางกายมีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายและสุขภาพว่ามีจุดอ่อนและจุดแข็งอะไรบ้าง เพื่อนําไปสู่การวางแผนปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ให้มีสมรรถภาพทางกายที่สมบูรณ์ การทดสอบสมรรถภาพ ได้แก่
- การตรวจร่างกายโดยทั่วไป เพื่อให้ทราบข้อบกพร่องทางสุขภาพ
- การวัดสัดส่วน เพื่อประเมินรูปร่าง โภชนาการ ส่วนประกอบต่างๆ เช่น การวัด ความหนาของไขมันใต้ผิว ด้วยเครื่อง Skinfold caliper การวัดรอบเอวด้วยสายวัด
- สมรรถภาพของหัวใจและปอด เพื่อประเมินการทํางานของระบบหายใจร่วมกับระบบการไหลเวียนของเลือดการทํางานของหัวใจ มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด การวัดสมรรถภาพระบบไหลเวียนของเลือด ใช้การวัดชีพจร การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องวัดความดัน และวัดขนาดของหัวใจด้วยการเอกซเรย์
- การวัดสมรรถภาพของระบบหายใจ เช่น การประเมินความจุของปอดโดย การถีบจักรยาน 6 นาที อ่านค่าอัตราการเต้นของหัวใจและคํานวณหาค่า V02 Max ด้วยตารางมาตรฐานหรือการประเมินความจุของปอด โดยวิ่งหรือเดินเร็ว ตามระยะทางและเวลาที่กําหนดวัดชีพจร นําผลมาเปิดตารางมาตรฐาน
- ความอ่อนตัว เป็นการวัดความยืดหยุ่นของข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ เช่น การนั่งงอตัวไปข้างหน้าพร้อมยึดแขนไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด
- การวัดความเร็วและความอดทนของกล้ามเนื้อ เช่น การใช้เครื่องมือ Hand grip dynamometer
ที่มา:sites.google.com/site/6032040038thaksakarphathna/prapheth-khxng-smrrthphaph-thang-kay-laea-kar-thd-sxb-smr-r
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 1 เมษายน 2022