วัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง 20 ตัวอย่าง 4 ภาค สรุป

วัฒนธรรมไทย
Click to rate this post!
[Total: 533 Average: 5]

วัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรมไทยประเพณี

            วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดใน สถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย ได้แก่
            1. ภาษาและวัฒนธรรม หมายถึง ภาษาไทยที่ใช้ในการพูดและการเขียนรวมทั้งงานประพันธ์ที่สร้างสรรค์ที่มีการบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
            2. มารยาท หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติระหว่างบุคคลตjอบุคคลที่สังคมยอมรับ ได้แก่ มารยาททางกาย และมารยาททาง วาจา
            3. การแต่งกาย หมายถึง เครื่องนุ่งห่มที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
            4. ประเพณีและพิธีทางศาสนา หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ
            5. ศิลปกรรม หมายถึง งานศิลปหัตถกรรม จิตกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรม
            6. การแสดงและการละเล่น หมายถึง การละเล่นและของเล่นของไทย ดนตรีไทย เพลงไทยประเภทต่างๆ และศิลปะการ แสดงของไทย

วัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้าง10ข้อ

วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
            วัฒนธรรมไทยด้านการแต่งกาย ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ผ้าไทยซึ่งทำจากผ้าไหม ผ้า ทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกายที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่ง นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
            ตัวอย่าง ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวนเสื้อรัดรูปแขนกระบอก ผู้ชายจะนุ่งผ้าม่วงโจง สวม เสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ
            ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้ เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยม ตามชาวยุโรปซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลื่อนหายไปมาก

 

 

 

วัฒนธรรมไทยการไหว้

วัฒนธรรมไทย : ด้านภาษา
            ประเทศไทยมีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเนื่องจากประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใด ในโลก ทำให้เรามีภาษาไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน และในประเทศไทยก็มีภาษาทางการ คือภาษากลาง ซึ่งคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ ในภาคไหนก็สามารถสื่อสารกันได้ด้วยภาษากลางนั้นเอง เพราะในประเทศไทยเรามีถึง 4 ภาคหลักและในแต่ละภาคก็ใช้ภาษาที่ แตกต่างกันไปบ้างดังนั้นเพื่อให้คนไทยสามารถสื่อสารตรงกันได้เราจึงมีภาษากลางเกิดขึ้นนั่นเอง

 

 

 

วัฒนธรรมไทยการรำ

วัฒนธรรมไทย : ด้านอาหาร
             วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้านภาษาคือวัฒนธรรมด้าน อาหาร ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกิน ที่แตกต่างกันออกไป แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่าวัฒนธรรมอาหารไทย ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดัง ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง ผัดไทย เป็นต้น อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ และ ถือว่าอาหารไทยก็ไม่แพ้อาหารของชนชาติใด

วัฒนธรรมไทยอาหาร

 

 

 

วัฒนธรรมไทย : ด้านศิลปกรรม
            ถือเป็นภูมิปัญญาไทยที่สำคัญ โดยเป็นผลงานที่สร้างขึ้นเพื่อความสวยงามก่อให้เกิดความสุขทางใจ ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ สร้างสรรค์ขึ้นด้วยแรงบันดาลใจจากพุทธศาสนา และเป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ได้แก่ ผลงาน ที่ปรากฏตามวัดวาอารามต่างๆ เรือนไทยที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ ศิลปกรรมไทยที่สำคัญได้แก่ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ วรรณกรรม

วัฒนธรรมไทยโขน

วัฒนธรรมไทย 20 ตัวอย่าง

วิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย ซึ่งเป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงานและการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดใน สถานการณ์ต่างๆ ที่สมาชิกในสังคมไทยสามารถรู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย ได้แก่

  1. ภาษาและวัฒนธรรม หมายถึง ภาษาไทยที่ใช้ในการพูดและการเขียนรวมทั้งงานประพันธ์ที่สร้างสรรค์ที่มีการบันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
  2. มารยาท หมายถึง การประพฤติ ปฏิบัติระหว่างบุคคลตjอบุคคลที่สังคมยอมรับ ได้แก่ มารยาททางกาย และมารยาททาง วาจา
  3. การแต่งกาย หมายถึง เครื่องนุ่งห่มที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย
  4. ประเพณีและพิธีทางศาสนา หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ
  5. ศิลปกรรม หมายถึง งานศิลปหัตถกรรม จิตกรรม สถาปัตยกรรม และประติมากรรม
  6. การแสดงและการละเล่น หมายถึง การละเล่นและของเล่นของไทย ดนตรีไทย เพลงไทยประเภทต่างๆ และศิลปะการ แสดงของไทย

ตัวอย่าง วัฒนธรรม

20 ตัวอย่าง วัฒนธรรมไทย

  1. การไหว้ สำหรับการไหว้นั้นในวัฒนธรรมไทยคือการทักทายและแสดงความเคารพต่อกัน ซึ่งการไหว้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือไหว้พระ ไหว้ผู้อาวุโส และไหว้ผู้ที่เสมอกัน แต่ละระดับมีรูปแบบการไหว้และความหมายที่แตกต่างกันไป
  2. การใช้มือกินอาหาร การกิน​ด้วยมือถือว่าเป็นวิธีชีวิตของคนไทยมาอย่างยาวนานซึ่งก็คือการจับหรือหยิบข้าวเหนียวจากกระติ๊บด้วยมือแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นไปตามลักษณะเฉพาะบ้านเฉพาะคน
  3. การเดินผ่านผู้ใหญ่ การเดินสวนผู้ใหญ่ ควรค้อมตัวเมื่อผ่านมาใกล้ ถ้าเป็นทางแคบ ๆ หรือ ตรงบันได ควรหยุดยืนตรงให้ผู้ใหญ่เดินผ่านไปก่อน
  4. คำลงท้าย ถือเป็นอีกนึงสิ่งที่สำคัญในวัฒนธรรมไทยในด้านการใช้ชีวิตของคนไทยเลยก็ว่าได้ การใช้ “ครับ/ค่ะ” เป็นคำลงท้าย, เป็นหางเสียง, แสดงความสุภาพ ใช้ได้กับทุกประโยคที่พูด ซึ่งคำแบบนี้ไม่ใช่วัฒนธรรมที่มีอยู่ในภาษาอังกฤษ
  5. ไปลามาไหว้ เป็นเรื่องปกติของคนไทยที่เวลาเราจะออกจากบ้านหรือกลับบ้านเราต้องไปลาผู้หลักผู้ใหญ่ให้เป็นกิจลักษณะรวมถึงการม่ไว้เมื่อเราไปที่อื่นก็เช่นกัน
  6. สินสอด ในประเทศไทยการแต่งงานส่วนใหญ่ย่อมมีสินสอดเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งมันก็คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงที่จะแต่งงานด้วยเป็นค่าน้ำนม
  7. การบวชทดแทน ชายไทยส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยอันสมควรแล้วก็จะบวชแทนพระคุณพ่อแม่ หรือบุพการี นอกจากจะเป็นการต่ออายุพระศาสนาแล้ว ยังเป็นการทดแทนพระคุณพ่อแม่อีกด้วย
  8. เงินเดือนก้อนแรก ในประเทศไทยคนบางกลุ่มมีแนวความคิดที่ว่าเงินเดือนที่เราได้ในเดือนแรกนั้น เราควรให้พ่อแม่ทั้งหมด เพื่อความเป็นศิริมงคลในการเริ่มต้นทำงานของเรา
  9. ชิงสุกก่อนห่าม คือแนวคิดของไทยที่ว่าชายหญิงที่กระทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยของตนหรือยังไม่มีความพร้อม มักสื่อถึงการมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งก่อยวัยอันควร
  10. ไหว้คนอายุน้อยกว่า ความเชื่อที่เขาว่ากันว่าคนที่แก่กว่าไหว้คนที่อ่อนกว่าจะตายไว
  11. กินข้าวพร้อมกัน ถือเป็นเรื่องปกติของครอบครัวคนไทยที่ให้ความสำคัญของมื้ออาหารและการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันเป็นประจำ
  12. ความอวุโส ประเทศไทย นอกจากจะเป็นเมืองพุทธแล้ว เรื่องการให้ความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน ความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสมากกว่าตน ถือว่าเป็นเรื่องปกติ
  13. ล้างมือล้างเท้าก่อนเข้าบ้าน โดยเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่เวลากลับจากไปไหนมาไหนก็มักจะล้างมือล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน เพื่อเป็นการชำระสิ่งสกปรกที่ติดตัวมา
  14. การแต่งกายเข้าวัด แต่งกายอย่างเหมาะสมเมื่อเยี่ยมชมวัดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้หญิงควรแต่งกายเพื่อปกปิดบริเวณไหล่และหัวเข่า
  15. การไม่เล่นหัว การเล่นหัวของคนไทยถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควร หรือส่งวัตถุใด ๆ เหนือหัวของใคร เพราะหัวเป็นส่วนที่สูงที่สุดของร่างกายและถือเป็นของสูง
  16. ของฝาก เมื่อได้รับเชิญหรือไปเยี่ยมเยียนผู้ใด ควรจะมี ของฝากไปมอบให้เพื่อแสดงน้ำใจไมตรี และเจ้าของบ้าน ควรเตรียมของต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วย
  17. การใช้เท้า คนไทยถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควร ใช้เท้าชี้เขี่ย หรือเดินข้ามบุคคลหรือสิ่งของ เช่น อาหาร หนังสือ เป็นต้น
  18. การเคี้ยวอาหาร ไม่ควรพูดคุยหรือเคี้ยวอาหารเสียงดังในขณะรับประทานอาหารเพราะจะถือว่าเป็นการแสดงความไม่มีมารยาท
  19. การไม่เถียงผู้ใหญ่ สังคมไทยสอนหลายอย่างเกี่ยวกับการปฏิบัติตนต่อผู้ใหญ่ รู้จักเคารพผู้หลักผู้ใหญ่และไม่เถียงผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่คุยกันอย่าพูดแทรก
  20. การแสดงความรัก ไม่ควรแสดงความรักด้วยการกอดจูบในที่ สาธารณะ หรือเขตศาสนสถาน

วัฒนธรรมไทย 4 ภาค

ประเภทของวัฒนธรรม
            *วัฒนธรรมทางวัตถุ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อความสุขทางกาย อันได้แก่ ยานพาหนะ ที่อยู่ อาศัยตลอดจนเครื่องป้องกันตัวให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
            * วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เพื่อให้เกิดปัญญาและมีจิตใจที่งดงาม อันได้แก่ ศาสนาศีลธรรม จริยธรรม คติธรรม ตลอดจนศิลปะ วรรณคดี และระเบียบแบบแผนของขนบธรรมเนียมประเพณี

การอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
             เหล่านี้คือวัฒนธรรมหลักๆ ที่เรามีอยู่ในประเทศไทยซึ่งจริงๆ แล้วเรายังมีวัฒนธรรมอีกมายมากเพียงแต่อาจจะใช้กันใน ชุมชนหรือหมู่บ้านของแต่ละท้องถิ่น แต่เมื่อเรามีวัฒนธรรมหลักที่เป็นของเราเองอยู่แล้วเราก็ควรอนุรักษ์ไว้ให้เป็นเอกลักษณ์ ของเราไม่ควรให้ต่างชาติมามีอิทธิต่อเรามากเกินไปเพราะวันหนึ่งเราอาจไม่เหลือวัฒนธรรมไทยอะไรให้จดจำอีกเลย ฉะนั้นเรา มาร่วมกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยไว้เถิดเพื่อลูกหลานเราในอนาคตจะได้ไม่หลงลืมไปและพูดถึงประเทศไทยได้อย่างเต็มความ ภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดไป

วัฒนธรรมไทย สรุป
วัฒนธรรมไทย หมายถึง วีถีการดำรงชีวิตที่ดีงาม ได้รับการสืบทอดจากอดีตสู่ปัจจุบันเป็นผลผลิตของมนุษย์ที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ทั้งด้านวัตถุ แนวคิดจิตใจ วัฒนธรรมในท้องถิ่นจะเป็นเอกลักษณ์ของสังคมท้องถิ่นนั้นๆ วัฒนธรรมคงอยู่ได้เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน และสร้างสรรค์พัฒนาขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่อ


อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 12 มีนาคม 2023

Leave a Comment

Scroll to Top