รําวงมาตรฐาน
ศิลปะทางการแสดงการร้อง การรำ ของชาวบ้านชายและหญิงนิยมร่ายรำกันเป็นคู่ๆ ในลักษณะของการรำเป็นวงกลม มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวัดที่มีจำนวนชิ้นไม่มากและเป็นเครื่องดนตรีที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นมาใช้สำหรับให้เกิดเสียงเข้าจังหวะเพลงที่ร่ายรำ วัตถุประสงค์ของการร่ายร่ำเพื่อความสนุกสนาน สร้างความรื่นเริงความสมัครสามัคคีให้มีกิจกรรมร่วมกันของชุมชุนในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งไม่มีการกำหนดรูปแบบหรือแบบแผนที่ตายตัว เรียกศิลปะทางการแสดงนี้ว่า รำวงมาตรฐาน
เพลงรำวงมาตรฐาน
ลักษณะของเพลงรำวงมาตรฐาน มีความไพเราะในถ้อยคำและคำสัมผัสของเนื้อเพลง เพลงมุ่งเน้นให้ความสนุกสนาน จังหวะค่อนข้างเร็วพร้อมขยับและเคลื่อนไหวร่างกาย เนื้อเพลงและดนตรีให้ความครื้นเครงรื่นเริงมากเป็นพิเศษ สร้างความปลุกใจทำให้ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามจังหวะเพลง เช่น เพลงใกล้เข้าไปอักนิด, เพลงหล่อจริงนะดารา
ประวัติความเป็นมา ของ รำวงมาตรฐาน
รำวงมาตรฐาน พัฒนามาจาก การรำโทน เพราะตามประวัติรำวงมาตรฐานแล้ว นำเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “โทน” หรือรู้จักกันอีกชื่อคือ “ตะโพน” เครื่องดนตรีไทยประเภทตี นำมาประกอบการให้จังหวะ เนื่องจากเสียงของการตีโทนให้จังหวะที่ค่อนข้างเร้าใจ ดนตรีมีความสนุก
ในรัฐสมัยของนายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตรงกับในปีพุทธศักราช 2487 ได้นำศิลปะทางการแสดงรำโทนมาพัฒนาและปรับปรุงให้มีความสำคัญมากขึ้น และมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้มีมาตรฐาน จนกลายมาเป็นศิลปะทางการแสดงการร่ายรำและการขับร้องที่มีเอกลักษณ์ประจำชาติไทย สำหรับการจัดงานรื่นเริง การสรรสรรค์ การเข้าค่าย การอบรม หรือการพักเบรกตอนประชุม เป็นต้น
รำวงมาตรฐาน 10 เพลง
เพลงรําวงมาตรฐาน 10 เพลง
- เพลงงามแสงเดือน
- เพลงชาวไทย
- เพลงรำซิมารำ
- เพลงคืนเดือนหงาย
- เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
- เพลงดอกไม้ของชาติ
- เพลงหญิงไทยใจงาม
- เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
- เพลงยอดชายใจหาญ
- เพลงบูชานักรบ
เพลงสำหรับใช้ในการรำวงมาตรฐาน 10 เพลง แบ่งเป็น 2 ประเภทของนาฏศิลป์ไทย นั้นก็ คือ ท่านจมื่นมานิตย์นเรศ (คุณเฉลิม เศวตนันท์) เจ้าหน้าที่ของกรมศิลปากรเป็นผู้ประพันธ์แต่งเนื้อร้อง จำนวน 4 เพลง และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม ประพันธ์แต่งเนื้อร้อง จำนวน 6 เพลง
- เพลงงามแสงเดือน ประพันธ์ในนาม ของกรมศิลปากร โดย ท่านจมื่นมานิตย์นเรศ คื
- เพลงชาวไทย ประพันธ์ในนาม ของกรมศิลปากร โดย ท่านจมื่นมานิตย์นเรศ คื
- เพลงรำซิมารำ ประพันธ์ในนาม ของกรมศิลปากร โดย ท่านจมื่นมานิตย์นเรศ คื
- เพลงคืนเดือนหงาย ประพันธ์ในนาม ของกรมศิลปากร โดย ท่านจมื่นมานิตย์นเรศ คื
- เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
- เพลงดอกไม้ของชาติ ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
- เพลงหญิงไทยใจงาม ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
- เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
- เพลงยอดชายใจหาญ ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
- เพลงบูชานักรบ ประพันธ์ในนาม ของท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
การแต่งกายรำวงมาตรฐาน
เมื่อการศิลปะการแสดงรำวงมาตรฐานเป็นศิลปะประจำชาติไทยที่ส่วนงานสังคีต ของกรมศิลปากรเป็นผู้ดูแลทำให้เรื่องของการแต่งกายรำวงมาตรฐานต้องมีมาตรฐาน มีการแต่งกายที่สวยงามและการแต่งกายที่มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น แบ่งการแต่งกายทั้งหมด 4 ประเภท ด้วยกันคือ
ประเภทที่ 1 ลักษณะแบบชาวบ้าน
- ผู้ชาย การแต่งกาย เสื้อคอพวงมาลัย คาดผ้าผูกเอวห้อยชายปล่อยด้านหน้า นุ่งโจงกระเบน
- ผู้หญิง การแต่งกาย ห่มผ้าสไบ คาดเข็มขัดที่เอว นุ่งโจงกระเบน ปล่อยผม บริเวณหูด้านซ้ายประดับด้วยดอกไม้
ประเภทที่ 2 ลักษณะแบบไทยพระราชนิยม
- ผู้ชาย การแต่งกาย เสื้อราชปะแตน นุ่งโจงกระเบน สวมถุงเท้าสีขาว รองเท้าหนังแบบสุภาพ
- ผู้หญิง การแต่งกาย เสื้อลูกไม้ มีสไบพาดบ่าผูกเป็นลักษณะโบบริเวณหัวไหล่ ทิ้งชายไว้ข้างๆลำตัวด้านซ้าย มักมีสีเดียวกับโจงกระเบน คาดเข็มขัดที่เอวบท ใส่สร้อยมุกประดับ
ประเภทที่ 3 ลักษณะแบบสากลนิยม
- ผู้ชาย การแต่งกาย สวมสูท ผูกเน็คไทสีสุภาพ ใส่กางเกงขายาว รองเท้าหนังแบบสุภาพ
- ผู้หญิง การแต่งกาย เสื้อคอกลมแขนทรงกระบอก ใส่กระโปรงป้ายข้าง ยาวกรอมเท้าคัทชู
ประเภทที่ 4 ลักษณะแบบราตรีสโมสร
- ผู้ชาย การแต่งกาย สวมเสื้อพระราชทาน มีผ้าคาดเอวด้านหน้าลักษณะห้อยชาย ใส่กางเกง
- ผู้หญิง การแต่งกาย เสื้อจับเดรปมีชายผ้าห้อยจากบ่าจรดยาวไปทางด้านหลัง เปิดบริเวณไหล่ขวา ใส่กระโปรงยาวจีบหน้านาง เกล้าผมแบบสุภาพ
ลักษณะท่าทางของการรำวงมาตรฐาน 10 เพลง ท่ารำ ของผู้ชายและผู้หญิง ท่านคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร ได้ออกแบบคิดประดิษฐ์ท่ารำวงมาตรฐานให้มีลักษณะที่เป็นแบบแผนท่าทางเดียวกัน ในทิศทางของการรำเป็นวงกลม จุดประสงค์เพื่อนำเอกลักษณ์ทางนาฏศิลป์ของไทยมาแสดงให้แพร่หลายตอนสยามประเทศ และทำให้ประชาชนได้นำเพลงที่มีท่ารำที่มีความอ่อนช้อยสวยงามมาใช้ในการละเล่น
- เพลงงามแสงเดือน ผู้ชายและผู้หญิง ท่าสอดสร้อยมาลา
- เพลงชาวไทย ผู้ชายและผู้หญิง ท่าชักแป้งผัดหน้า
- เพลงรำซิมารำ ผู้ชายและผู้หญิง ท่ารำส่าย
- เพลงคืนเดือนหงาย ผู้ชายและผู้หญิง ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
- เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ผู้ชายและผู้หญิง ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่
- เพลงดอกไม้ของชาติ ผู้ชายและผู้หญิง ท่ารำยั่ว
- เพลงหญิงไทยใจงาม ผู้ชายและผู้หญิง ท่าพรหมสี่หน้า และท่ายูงฟ้อนหาง
- เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า ผู้ชายและผู้หญิง ท่าช้างประสานงา ชายท่าจันทร์ทรงกลด
- เพลงยอดชายใจหาญ ผู้ชาย ท่าจ่อเพลิงกาล ผู้หญิง ท่าชะนีร่ายไม้
- เพลงบูชานักรบ ผู้ชาย ท่าจันทร์ทรงกลด และท่าขอแก้ว / ผู้หญิง ท่าขัดจางนาง และท่าล่อแก้ว
สำหรับการรำวงมาตรฐาน นำท่าของการรำไทย ที่มีความอ่อนช้อย การจับจีบ การตั้งวง มาใช้ประกอบเพลงรำวงมาตรฐาน 10 เพลง พร้อมท่ารำ ทำให้การรำมีท่ารำที่มีเอกลักษณ์ประจำเพลง ยกตัวอย่างเช่น ท่ารำเพลงงามแสงเดือน คือท่าสอดสร้อยมาลา มีส่วนทำให้ การรำวงเป็นระบำมาตรฐานมากยิ่งขึ้น ทำให้รูปแบบการแสดงมีความน่าสนใจ อย่างพอได้ยินเพลงดอกไม้ของชาติ ทำให้คิดถึงท่ารำยั่ว
นาฏศิลป์ไทย คือ ศิลปะการแสดงที่มีความงดงาม ความอ่อนช้อย ที่อยู่กันประเทศไทยมาหลายยุคหลายสมัย การที่นาฏศิลป์มีความวิจิตร เพราะการจัดองค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทยต้องอาศัยผู้มากประสบการณ์ที่บรรจงรังสรรค์ใส่ใจรายละเอียดของทุกขั้นตอน ให้การแสดงนาฏศิลป์ออกมาน่าชื่นชมแก่ผู้พบเห็นโดยทั่วไป
ต้องจัดองค์ประกอบนาฏศิลป์ ดังนี้
- ท่าทางของลีลาร่ายรำ
เป็นลักษณะท่าทางหรือลีลาของการรำ สีหน้าและแววตา สามารถสื่อสารทางอารมณ์และการดำเนินเรื่องราวที่มีแบบแผน มีความสวยงาม เช่นชุดรำวงมาตรฐานในแต่ละเพลงมีท่าทางการร่ายรำที่ไม่เหมือนกัน
- จังหวะที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์
สำหรับผู้แสดงต้องใช้ทักษะการฝึกซ้อม การเข้าใจในรายละเอียดของตัวแสดงเพื่อให้การร่ารำสอคล้องกับดนตรี จังหวะที่ใช้ในการแสดง
- เครื่องและวงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงนาฏศิลป์
การเลือกประเภทของเครื่องหรือวงดนตรี มีความสำคัญต่อการแสดง เนื่องจากวงดนตรีแต่ละชนิดมีการใช้ประกอบการแสดงของประเภทนาฏศิลป์ไทยที่ไม่เหมือนกัน เช่นวงปี่พาทย์, วงมโหรี เป็นต้น
- คำร้องหรือเนื้อร้อง
การถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกของตัวแสดงนาฏศิลป์ เพื่อสื่อสารกับคนดู มีความสำคัญ การใช้เพลงที่มีเนื้อร้องและไม่มีเนื้อร้องมีความแตกต่างกัน
- การแต่งกายและการแต่งหน้า
การแต่งหน้าตัวแสดง ตลอดจนเครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าที่สวมใส่ เครื่องประดับ ทรงผม เป็นรายละเอียดที่มีความวิจิตร มีความประณีตบรรจง สามารถสร้างความมีเอกลักษณ์ที่งดงามของนาฏศิลป์ไทย เนื่องจากการแต่งกายและการแต่งหน้าของผู้แสดงเป็นการบ่งบอกของบทบาทตัวละคร
- อุปกรณ์ใช้ประกอบการแสดง
รายละเอียดของฉาก หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงให้เสมือนจริง เป็นองค์ประกอบที่ผู้จัดการแสดงทางนาฏศิลป์ต้องใส่ใจมาก อย่างเช่น ระบำพัด ซึ่งอุปกรณ์ที่จะขาดไม่ได้ คือพัดนั้นเอง
เนื้อเพลงรำวง 10 เพลงรำวงมาตรฐาน
- เนื้อเพลงงามแสงเดือน
งามแสงเดือนมาเยือนส่องหล้า งามใบหน้าเมื่ออยู่วงรำ
เราเล่นกันเพื่อสนุก เปลื้องทุกข์วายระกำ
ขอให้เล่นฟ้อนรำ เพื่อสามัคคีเอย - เนื้อเพลงชาวไทย
ชาวไทยเจ้าเอ๋ย ขออย่าละเลยในการทำหน้าที่
การที่เราได้เล่นสนุก เปลื้องทุกข์สบายอย่างนี้
เพราะชาติเราได้เสรี มีเอกราชสมบูรณ์
เราจึงควรช่วยชูชาติ ให้เก่งกาจเจิดจำรูญ
เพื่อความสุขเพิ่มพูน ของชาวไทยเราเอย - เนื้อเพลงรำซิมารำ
รำมาซิมารำ เริงระบำกันให้สนุก
ยามงานเราทำงานกันจริง ๆ ไม่ละไม่ทิ้งจะเกิดเข็ญขุก
ถึงยามว่างเราจึงรำเล่น ตามเชิงเช่นเพื่อให้สร่างทุกข์
ตามเยี่ยงอย่างตามยุค เล่นสนุกอย่างวัฒนธรรม
เล่นอะไรให้มีระเบียบ ให้งามให้เรียบจึงจะคมขำ
มาซิมาเจ้าเอ๋ยมาฟ้อนรำ มาเล่นระบำของไทยเราเอย - เนื้อเพลงคืนเดือนหงาย
ยามกลางคืนเดือนหงาย เย็นพระพายโบกพริ้วปลิวมา
เย็นอะไรก็ไม่เย็นจิต เท่าเย็นผูกมิตรไม่เบื่อระอา
เย็นร่มธงไทยปกไปทั่วหล้า เย็นยิ่งน้ำฟ้ามาประพรมเอย - เนื้อเพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ
ดวงจันทร์วันเพ็ญ ลอยเด่นอยู่ในนภา
ทรงกลดสดสี รัศมีทอแสงงามตา
แสงจันทร์อร่าม ฉายงามส่องฟ้า
ไม่งามเท่าหน้า นวลน้องยองใย
งามเอยแสงงาม งามจริงยอดหญิงชาติไทย
งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา จริตกิริยานิ่มนวลละไม
วาจากังวาน อ่อนหวานจับใจ
รูปทรงสมส่วน ยั่วยวนหทัย
สมเป็นดอกไม้ ขวัญใจชาติเอย - เนื้อเพลงดอกไม้ของชาติ
ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาศนวยนาดร่ายรำ
เอวองค์อ่อนงาม ตามแบบนาฏศิลป์
ชี้ชาติไทยเนาว์ถิ่น เจริญวัฒนธรรม
งามทุกสิ่งสามารถ สร้างชาติช่วยชาย
ดำเนินตามนโยบาย สู้ทนเหนื่อยยากตรากตรำ - เนื้อเพลงหญิงไทยใจงาม
เดือนพราว ดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับ ส่งให้เดือนงามเด่น
ดวงหน้า โสภาเพียงเดือนเพ็ญ
คุณความดีที่เห็น เสริมให้เด่นเลิศงาม
ขวัญใจ หญิงไทยส่งศรีชาติ
รูปงามพิลาศ ใจกล้ากาจเรืองนาม
เกียรติยศ ก้องปรากฏทั่วคาม
หญิงไทยใจงาม ยิ่งเดือนดาวพราวแพรว - เนื้อเพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่
จันทร์ประจำราตรี แต่ขวัญพี่ประจำใจ
ที่เทิดทูนคือชาติ เอกราชอธิปไตย
ถนอมแนบสนิทใน คือขวัญใจพี่เอย - เนื้อเพลงยอดชายใจหาญ
โอ้ยอดชายใจหาญ ขอสมานไมตรี
น้องขอร่วมชีวี กอร์ปกรณีกิจชาติ
แม้สุดยากลำเค็ญ ไม่ขอเว้นเดินตาม
น้องจักสู้พยายาม ทำเต็มความสามารถ - เนื้อเพลงบูชานักรบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ
เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ สมศักดิ์ชาตินักรบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่มานะที่มานะอดทน
หนักแสนหนักพี่ผจญ เกียรติพี่ขจรจบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่ขยันที่ขยันกิจการ
บากบั่นสร้างหลักฐาน ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ
น้องรักรักบูชาพี่ ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต
เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ
นาฏศิลป์ไทยมีกี่ประเภท
สำหรับนาฏศิลป์ของไทยสามารถแบ่งออกเป็นประเภทของนาฏศิลป์ที่ใช้ในรูปแบบของการแสดงได้จำนวน 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ รำ, ระบำ, โขน, ละคร, การแสดงพื้นเมือง
- รำ หมายถึง ศิลปะทางการแสดงที่มุ่งเน้นทางท่าของการร่ายรำ ความอ่อนช้อย จะเป็นการรำในเพลงบรรเลง เพลงขับร้อง เพลงช้า เพลงเร็ว แบ่งเป็น 3 ชนิด
- การรำเดี่ยว เช่น การรำฉุยฮายพราหมณ์
- การรำคู่ เช่น รำเมขลาและการรำรามสูร, พระรามตามกวาง
- การรำหมู่ เช่น ท่ารำวงมาตรฐาน, เพลงรำโทน
- ระรำ หมายถึง ศิลปะทางการแสดงที่มีความพร้อมเพรียงกันของการรำหมู่คณะ ไม่การดำเนินเรื่องราว มีลีลาท่าทางที่สวยงาม ความงดงามของเครื่องแต่งกาย เช่นระบำเทพบรรเลง ระบำกฤดาภินิหาร
- โขน หมายถึง ศิลปะทางการแสดงประเภทของนาฏศิลป์ชั้นสูงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของการสวมหัวโขน เป็นการรำไทยที่มีลีลาท่าทางไปตามบทพากย์และบทเจรจา มีความเฉพาะของชื่อเครื่องดนตรีคือวงปี่พาทย์ นิยมนำโขนมาจัดการแสดงในงานพิธีสำคัญต่างๆ
- ละคร หมายถึง ศิลปะทางการแสดงการร่ายรำที่มีการดำเนินเรื่องราว มีวิวัฒนาการมาจากการเล่านิทาน มีเอกลักษณ์ของแต่ละบทละคร ท่าทางการรำ นำบทร้อง ทำนองเพลง วงดนตรีมาใช้ประกอบในการแสดงละคร แบ่งเป็นละครใน เช่น อิเหนา พระสุธน ละครนอก เช่น การแสดงโนราชาตรี
- การแสดงพื้นเมือง หมายถึง ศิลปะทางการแสดงในท้องถิ่นนั้นๆ มีทางการร่ายรำ ระบำ การเล่นเครื่องดนตรี การร้องและบรรเลง เช่น การแสดงพื้นเมือง 4 ภูมิภาค
เครื่องดนตรีพื้นเมือง 4 ภาค
- ภาคเหนือ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น ซอ ซึง การแสดงร่ายรำ เช่น การฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน เป็นต้น
- ภาคกลาง เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทนหรือตะโพนซึ่งใช้เป็นเครื่องดนตรีรำวงมาตรฐาน เนื่องจากตามประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐานแล้ว ท่ารำและเครื่องดนตรีรำวงมาตรฐานหลักๆที่ใช้ในการแสดงร่ายรำคือ กลองโทนหรือตะโพนนั้นเอง และจึงนำศิลปะของการรำไทย มาประดิษฐ์ออกแบบให้มีแบบแผนของรำวงมาตรฐาน 10 เพลง และท่ารำที่มีเอกลักษณ์ของการรำวงที่แตกต่างจากต้นแบบของเพลงรำโทน ซึ่งเป็นการแสดงของพื้นเมืองภาคกลาง
- ภาคอีสาน เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น แคน พิณ การแสดงร่ายรำ เช่น การแสดงโปงลาง หมอลำและเซิ้ง
- ภาคใต้ เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น ทับ แตระ การแสดงร่ายรำ เช่น การแสดงโนรา หนังตะลุง
ความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย
สำหรับประเทศไทยที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะทุกแขนง มีความงดงามด้านทางภาษา การแต่งกายด้วยชุดไทยโบราณที่มีความสวยงามมาก มีวรรณคดีไทยที่สร้างสรรค์สอดแทรกวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของไทยทุกยุคทุกสมัย มีงานจิตกรรม งานสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงดงาม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชนชาติไทยที่ไม่เคยมีที่ใดในอารยประเทศของโลกใบนี้ ทำให้หลอมรวมเกิดเป็นความสำคัญ การสร้างขวัญและกำลังใจให้กับบ้านเมืองก่อให้เกิดความเจริญงดงามมากขึ้น
ซึ่งในเรื่องของความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย เป็นเครื่องเชิดชูและเป็นดุจดั่งการเป็นหน้าเป็นตาของเรื่องความอ่อนช้อย ความสง่างาม มีความเป็นหนึ่งในโลก ดั่งจะเห็นได้จากเมื่อมีแขกมาเยี่ยมบ้านเมือง หรือมีงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์ไทย จะถูกบรรจุอยู่ในพิธีการนั้นอยู่เสมอๆ
จากประวัติของรำวงมาตรฐาน และประวัติเพลงรำวงมาตรฐาน เป็นเครื่องแสดงถึงวิวัฒนาการของศิลปะการแสดงที่ควรอนุรักษ์และรักษาไว้ เป็นการแสดงทางนาฏศิลป์ที่สร้างความบันเทิง สร้างความเริงรื่น และความสนุกสนานของการร่ายรำ ได้ถูกออกแบบให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่มีความสอดคล้องกับเนื้อหาของบทเพลง
จึงไม่แปลกใจเลยที่นำการแสดงรำวงมาตรฐานมาสร้างความสันทนาการในกิจกรรมต่างๆ และเป็นที่ชื่นชอบของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เพราะมนต์เสน่ห์ของรำวงมาตรฐาน คือการแสดงออกถึงรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ความมีมารยาท ความความสามัคคี การกล้าแสดงออกของกิจกรรมศิลปะร่ายรำวงมาตรฐาน จึงควรสืบทอดศิลปะทางนาฏศิลป์ให้คงอยู่คู่กับประเทศไทยตลอดไป
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 16 สิงหาคม 2022