รีไฟแนนซ์

3 รีไฟแนนซ์ ที่ดีบ้านสินเชื่อรถยนต์ดอกเบี้ย?

Click to rate this post!
[Total: 143 Average: 5]

รีไฟแนนซ์

เรื่องควรรู้ก่อนตัดสินใจ..รีไฟแนนซ์บ้าน กับรีไฟแนนซ์รถยนต์ 2566

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่าการรีไฟแนนซ์มากันไม่มากก็น้อย ซึ่งการรีไฟแนนซ์ก็เปรียบเสมือนการขอสินเชื่อใหม่โดยใช้ทรัพย์สินที่เรามีอยู่มาค้ำประกันเพื่อยื่นเรื่องสินเชื่อใหม่นั้นเอง โดยหลักทรัพย์ในที่นี่ก็จะแปลตรงตัว อย่างรีไฟแนนซ์บ้านก็จะมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ และการรีไฟแนนซ์รถยนต์ก็จะมีรถยนต์เป็นหลักทรัพย์นั่นเอง ทั้งนี้แม้ว่าจะฟังดูเหมือนกันแต่เรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านและการรีไฟแนนซ์รถยนต์มีความแตกต่างกันพอสมควร จึงต้องทำความเข้าใจแบบเป็นเรื่อง ๆ ไป

รีไฟแนนซ์

ทั้งนี้การขอรีไฟแนนซ์บ้านและรถยนต์นั้นมีเรื่องควรรู้ด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งเราได้หยิบยกเอาประเด็นที่สำคัญทีร่ควรรู้เพื่อประกอบการพิจารณาก่อนตัดสินใจไปรีไฟแนนซ์บ้านและการรีไฟแนนซ์รถยนต์ได้จากประเด็นดังกล่าวนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องการขอรีไฟแนนซ์ไม่ว่าจะเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ไหนก็ตามจะต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดทั้งหมดให้ดีก่อนการตัดสินใจ อย่างน้อยก็ควรเลือกธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เชื่อถือได้ประมาณ 3 แห่งขึ้นไปเพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมว่าตรงกับความต้องการของเราหรือไม่ อย่างไร

รีไฟแนนซ์บ้าน

รีไฟแนนซ์บ้าน
รีไฟแนนซ์บ้าน

รีไฟแนนซ์บ้าน คืออะไร

การรีไฟแนนซ์บ้าน คือ การนำสินเชื่อบ้านที่เคยไปยื่นกู้ไปแล้วมายื่นกู้ใหม่ ซึ่งเป็นการขอยื่นสินเชื่อบ้านหลังที่กำลังผ่อนสินเชื่ออยู่มายื่นกับธนาคารแห่งใหม่หรือบางกรณีอาจจะสามารถขอยื่นใหม่กับธนาคารเดิมก็ได้เช่นกัน จุดประสงค์ของการขอรีไฟแนนซ์บ้านจะทำให้ลดรายจ่ายที่ผ่อนต่อเดือนน้อยลงได้ และยังช่วยให้สามารถผ่อนได้หมดไวได้มากยิ่งขึ้น

ลักษณะของการรีไฟแนนซ์บ้านมักจะมีการทำเมื่อมีการผ่อนชำระตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปแล้ว กล่าวคือ เมื่อเราเลือกซื้อบ้านสักหลัง บุคคลจะต้องขอสินเชื่อกับทางธนาคารพาณิชย์สักแห่ง โดยธนาคารก็จะวางตารางการผ่อนชำระบ้านดังกล่าวว่าจะต้องผ่อนต่อเดือนเท่าไรและต้องเสียอัตราดอกเบี้ยเท่าไร ซึ่งใน 1-2 ปีแรกนั้นจะถูกปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ถูกกว่าปกติเป็นพิเศษ แต่ภายหลังจากปีที่ 3 ไปจะพบว่ามีดอกเบี้ยลอยตัวที่สูงขึ้นมาก ทำให้หลายคนอาจจะปรับตัวแบกรับภาระไม่ไหวกันเลยทีเดียว ซึ่งการแก้ปัญหาของคนที่ไม่ต้องการให้เกิดดอกเบี้ยที่ลอยตัวสูงขึ้นนั้นก็คือการขอ “รีไฟแนนซ์บ้าน” เรียกง่าย ๆ ว่าขอนำแผนที่เคยผ่อนชำระแต่ละเดือนมาจัดแจงใหม่ ซึ่งธนาคารก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยและการผ่อนชำระในแต่ละเดือนของคุณให้เบาสบายมากขึ้นกว่าเดิม เช่น อาจจะยืดงวดเดือนในการผ่อนชำระให้นานมากยิ่งขึ้น หรือปรับจำนวนเงินที่ผ่อนต่อเดือนให้ถูกลงนั้นเอง

ทำไมต้องรอ 3 ปีก่อน จึงจะค่อยรีไฟแนนซ์บ้านได้

ธนาคารจะรับทำการรีไฟแนนซ์บ้านให้ได้ เมื่อหมดสัญญาแล้วกับธนาคารแห่งแรกที่ยื่นขอสินเชื่อบ้านเ ซึ่งโดยปกติจะมีกำหนดการทำสัญญาบ้านอยู่ที่ 3 ปี เมื่อหมดสัญญาเก่าลงก็จะสามารถนำสินเชื่อนั้นมาหายื่นกู้กับธนาคารแห่งใหม่หรือเริ่มรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารแห่งเดิมได้นั่นเอง

อย่างไรก็ตามไม่ถึง 3 ปีสามารถขอรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ได้เช่นกัน แต่เปรียบเสมือนว่าผู้ยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ผิดสัญญา เพราะยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาที่ทำสินเชื่อกับทางธนาคารแห่งนั้น ๆ ในกรณีนี้ที่ยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านจึงสามารถทำได้แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมกับธนาคารแห่งเดิมที่ผิดสัญญาตามที่เงื่อนไขได้ระบุไว้ในสัญญาตั้งแต่แรก ซึ่งในทุกสัญญาที่ได้ตกลงก็จะระบุไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านเพื่อทำความเข้าใจก่อนได้ว่ากรณีผิดเงื่อนไขอะไรจะเสียเปรียบอะไรบ้าง มีค่าธรรมเนียมเท่าไรหากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนด แต่หากไม่อยากเสียค่าธรรมเนียมหรือส่วนต่างดังกล่าวก็ต้องรอครบกำหนดสัญญากับธนาคารแหล่งเดิมซึ่งจะอยู่ราว 3 ปีแล้วค่อยหาธนาคารแห่งใหม่เพื่อรีไฟแนนซ์บ้าน

เรื่องควรรู้ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน

แม้ว่าการรีไฟแนนซ์บ้านจะเป็นเรื่องที่ฟังดูแล้วน่าทำอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้จัดเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะหากคุณสามารถประเมินดูแล้วว่ามีความสามารถให้การผ่อนชำระตั้งแต่ต้นและพึงพอใจกับเงื่อนไขตั้งแต่แรกก็ไม่จำเป็นจะต้องขอรีไฟแนนซ์บ้าน หรือขอยื่นเรื่องกู้สินเชื่อใหม่อีกครั้งแต่อย่างใด เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านก็มีเรื่องที่ควรระวังอยู่พอสมควร ไม่ใช่ว่าเกิดอยากรีไฟแนนซ์บ้านก็จะไปทำได้เลย ควรจะศึกษาข้อมูลทุกอย่างให้ละเอียดรอบคอบให้มากที่สุดก่อนตัดสินใจ เพื่อผลประโยชน์แก่ตัวคุณเอง ซึ่งเราก็ได้นำประเด็นที่ควรพึงระวังเกี่ยวกับเรื่องการรีไฟแนนซ์บ้านมาให้ได้รู้กัน เพื่อประกอบการไตร่ตรองก่อนตัดสินใจ ดังนี้

  1. หากรีไฟแนนซ์บ้านก่อนหมดสัญญาจะโดนค่าปรับ

ตามปกติแล้วเมื่อมีการขอสินเชื่อบ้านตั้งแต่เริ่มแรกจะมีการทำสัญญาอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ดังนั้นในช่วงปีแรก ๆ จะพบว่ามีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาก เพื่อดึงดูดใจลูกค้า ทั้งนั้นผู้กู้ต้องพิจารณารายละเอียดสัญญาด้วยว่าหากขอรีไฟแนนซ์บ้านก่อนครบกำหนดจำมีค่าธรรมเนียมหรือก็คือค่าปรับอยู่ที่เท่าไร เผื่อว่าจะต้องการขอรีไฟแนนซ์บ้านก่อนกำหนดครบสัญญานั่นเอง แต่หากเลยระยะเวลาสินเชื่อที่ได้ตกลงกันแล้ว ก็ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับให้ธนาคารแต่อย่างใด

  1. การรีไฟแนนซ์บ้านจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เหมือนเริ่มขอสินเชื่อใหม่

เพราะการรีไฟแนนซ์บ้านก็เหมือนขอสินเชื่อใหม่อีกครั้ง ดังนั้นก็จะต้องมีค่าจัดการทำสินเชื่อเหมือนตามปกติที่เคยขอสินเชื่อเช่นกัน ส่วนตรงนี้ก็ต้องนำมาพิจารณาด้วยว่าการธรรมเนียมรวมทั้งค่าบริการต่าง ๆ เมื่อมีการขอรีไฟแนนซ์จะอยู่ที่เท่าไร รายจ่ายที่เจอมักจะมีดังต่อไปนี้

  1. ค่าธรรมเนียมการจดจำนองอยู่ที่ประมาณ 1% ของราคาที่ได้รับการประเมินเรียบร้อยแล้ว
  2. ค่าประเมินราคาหลักประกันอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท (แล้วแต่ธนาคาร)
  3. ค่าอากรแสตมป์อยู่ที่ 05% ของวงเงินที่กู้ทั้งหมด
  4. ค่าประกันอัคคคีภัย
  5. ค่าบริการซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการจัดการการขอสินเชื่อ เป็นต้น

ดังนั้นคนที่ต้องการยื่นขอรีไฟแนนซ์บ้านใหม่อีกครั้งก็ควรบวกส่วนต่างซึ่งอาจจะต้องเตรียมเงินสดสำรองเพื่อชำระกับทางธนาคารทันทีด้วยเช่นกัน สิ่งที่สำคัญก็คือส่วนขอค่าปรับซึ่งมองว่าเป็นค่าธรรมเนียมที่ไม่ควรเสียแต่อย่างใด เราสามารถรอให้หมดอายุสัญญาก่อนค่อยมีการขอรีไฟแนนซ์บ้านก็ได้เช่นกัน หากเมื่อไรก็ตามที่คิดจะรีไฟแนนซ์บ้านใหม่แล้วล่ะก็ ควรคำนวณส่วนต่างว่าคุ้มค่าหรือไม่ให้ดีเสียก่อน และควรมีการเปรียบเทียบกับธนาคารหลายแห่งว่ามีที่ไหนที่คุ้มค่าที่สุดในการขอรีไฟแนนซ์บ้านสำหรับคุณเอง

รีไฟแนนซ์บ้านที่ไหนดี

เมื่อตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์บ้านก็ต้องมีนั่งแปรียบเทียบรายละเอียดการรีไฟแนนซ์บ้านด้วยกันหลายอย่าง ไม่ใช่แค่เรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะปัจจัยการขอรีไฟแนนซ์บ้านมีด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งเราจะยกตัวอย่างธนาคารที่รีไฟแนนซ์บ้านและข้อควรพิจารณาเพื่อเปรียบเทียบ ดังนี้

  1. กรุงศรีไฟแนนซ์
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับ 3 ปีแรกอยู่ที่ประมาณ 75%
  • สามารถอนุมัติวงเงินได้สูงสุดอยู่ที่ 95% ของราคาประเมิน
  • จะต้องมีหลักประกันซึ่งก็คืออยู่อาศัย มูลค่าตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป
  1. สินเชื่อบ้านสุขสันต์ ธอส.
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับ 3 ปีแรก กรณีลูกค้าสวัสดิการ MRR -1.00%, กรณีลูกค้ารายย่อย MRR -0.50%
  • ไม่ได้ระบุวงเงินสูงสุดที่สามารถอนุมัติได้
  • สามารถอนุมัติวงเงินได้สูงสุดอยู่ที่ 95% ของราคาประเมิน
  • จะต้องมีหลักประกันซึ่งก็คืออยู่อาศัย มูลค่าตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป
  1. กสิกรไทย รีไฟแนนซ์ Supersave
  • อัตราดอกเบี้ยสำหรับ 3 ปีแรกอยู่ที่ประมาณ MRR-1.50%
  • สามารถอนุมัติวงเงินได้สูงสุดอยู่ที่ 100% ของราคาประเมิน
  • ให้เฉพาะสัญญาฉบับที่ 1 และจะต้องมีหลักประกันซึ่งก็คืออยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท

หากเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกับทางธนาคารก็จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อนชำระเป็นสำคัญ ทั้งนี้ก็ต้องพิจารณาว่าคุ้มค่าหรือไม่หากจะทำการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ รวมทั้งจะต้องไม่ลืมที่จะอ่านหรือศึกษารายละเอียดเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำสัญญาให้ดีเสียก่อน ยิ่งศึกษาเพิ่มเติมเท่าไร และเปรียบเทียบได้มากเท่าไรก็ทำให้ลดความเสี่ยงในการผ่อนชำระเงินก้อนระยะยาวได้เป็นอย่างดี

รีไฟแนนซ์รถยนต์

รีไฟแนนซ์รถ
รีไฟแนนซ์รถ

การรีไฟแนนซ์รถยนต์ คืออะไร

การรีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ การนำสินเชื่อรถยนต์ที่ได้ผ่อนชำระอยู่ในขณะนี้มาขอสินเชื่อใหม่อีกครั้งกับธนาคารแห่งใหม่หรืออาจจะขอสินเชื่อรถยนต์ใหม่กับธนาคารแห่งเดิม ไม่จำเป็นต้องรอให้รถยนต์ผ่อนหมดก่อนค่อยรีไฟแนนซ์เพื่อเอาเงินก้อนก็ได้เช่นกัน ซึ่งธนาคารก็จะอนุมัติมาเป็นวงเงินกู้ใหม่ให้กับผู้ขอสินเชื่อ โดยจะมีเงินก้อนให้สามารถนำมาโปยอดเดิมที่มีอยู่ได้และนำวงเงินกู้ที่เหลือไปใช้จ่ายได้ตามอเนกประสงค์ ที่สำคัญจะมีการปรับค่างวดในการผ่อนชำระใหม่เพื่อให้ผู้ขอรีไฟแนนซ์รถยนต์ผ่อนค่างวดได้ถูกลงกว่าเดิม รวมทั้งสามารถปรับขยายระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้นได้ด้วยเช่นกัน

จุดประสงค์ของการรีไฟแนนซ์รถยนต์จึงเป็นการที่ผู้กู้ได้รถยนต์ไว้ใช้อยู่ และได้เงินก้อนมาหมุนเวียนในชีวิตประจำวันได้ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินเรื่องต่าง ๆ โดยไม่ต้องระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เงินแต่อย่างใด นอกจากนี้อีกประเด็นที่สำคัญก็คือการถูกปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้น้อยลงกว่าปกติ ผ่อนได้สบายขึ้นนานขึ้น อาจจะต้องผ่อนนานกว่าเดิมแต่ไม่ต้องผ่อนทีละมาก ๆ ต่อเดือน กล่าวได้ว่าการรีไฟแนนซ์รถยนต์เหมาะกับคนที่มีปัญหาเรื่องการเงิน มีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน หรือไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดแบบเดิมได้

อย่างไรก็ตามเรื่องการรีไฟแนนซ์รถยนต์นั้นมีรายะละเอียดรวมทั้งเงื่อนไขของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงินที่แตกต่างกันออกไป ผู้ที่กู้ควรจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการตัดสินใจ ไม่ใช้แค่เรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในแต่ละเดือนเท่านั้น

ประโยชน์ของการรีไฟแนนซ์รถยนต์

  1. มีเงินก้อนใช้ สามารถนำเงินก้อนไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ตามความต้องการ
  2. ค่างวดที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง กรณีที่ขอรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ยังผ่อนชำระไม่หมด
  3. เสียดอกเบี้ยถูกกว่าการขอสินเชื่อรูปแบบอื่น เมื่อคุณต้องการเงินก้อนแล้วเลือกรีไฟแนนซ์รถยนต์จะเสียค่าดอกเบี้ยอยู่ที่ 3-4% เท่านั้น
  4. เลือกรูปแบบของการผ่อนชำระได้มากขึ้น เช่น ต้องการผ่อนงวดแต่ละเดือนให้ถูกลงก็อาจจะยืดระยะเวลาการผ่อนให้นานขึ้นได้แทน ลดภาระรายจ่ายในแต่ละเดือนให้ถูกลงได้เป็นอย่างดี
  5. เหมาะกับคนที่ต้องการเงินก้อนลงทุน หรือหมุนเวียนเงินใช้จ่ายยามฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี
  6. ได้เงินก้อนจากการรีไฟแนนซ์รถยนต์แล้วยังมีรถยนต์ไว้ใช้งานต่อได้สบายอีกด้วย

การรีไฟแนนซ์รถยนต์เหมือนกับการรีไฟแนนซ์บ้านหรือไม่

แม้ว่าจะฟังดูคล้ายกันมาก แต่การรีไฟแนนซ์บ้านกับรถยนต์ไม่ได้เหมือนกันแต่อย่างใด อันดับแรกจะเป็นเรื่องความยากในการขอสินเชื่อแตกต่างกัน โดยบ้านหรือที่อยู่อาศัยจะมีมูลค่าที่สูงกว่าเมื่อวันเวลาผ่านไปมูลค่าทรัพย์สินจะเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับรถยนต์แล้วถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าเสื่อมถดถอยลง เพราะเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อผ่านการใช้งานแล้วราคารถยนต์ก็จะลดลง รถยนต์จึงมีราคาที่ถูกลงเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุการใช้งานที่นานมากขึ้น

ดังนั้น วงเงินที่ได้จากการขอรีไฟแนนซ์บ้านและรถยนต์จึงต่างกันด้วย เพราะเมื่อมีการขอรีไฟแนนซ์บ้านจะได้รับวงเงินประเมินหลักทรัพย์ที่สูงขึ้นกว่าตอนที่ขอสินเชื่อในตอนแรก เพราะยิ่งอายุบ้านนานมากขึ้นเท่าไรก็จะได้มูลค่าสูงขึ้นกว่าเดิมตามราคาที่ดินท้องตลาดด้วยเช่นกัน ซึ่งแตกต่างจากการขอรีไฟแนนซ์รถยนต์ที่มีความยากมากกว่าเพราะเมื่อมีการขอรีไฟแนนซ์รถยนต์ใหม่มักจะได้รับวงเงินประเมินหลักทรัพย์ที่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อรถยนต์ในตอนแรก

การขอรีไฟแนนซ์รถยนต์สามารถทำได้ทั้งขณะที่กำลังผ่อนชำระงวดรถยนต์อยู่หรือผ่อนค่างวดรถยนต์หมดแล้ว โดยหากยิ่งอายุรถยนต์มากก็จะได้เงินก้อนที่ลดลงตามราคาที่ได้ประเมินหลักทรัพย์ในขณะนั้น ซึ่งการรีไฟแนนซ์รถยนต์จึงเป็นการที่รับเงินก้อนเพื่อโปะหนี้ที่มีอยู่เดิมและนำเงินก้อนไปหมุนเวียนใช้จ่ายอย่างอื่นเป็นหลักมากกว่า เมื่อสังเกตรถที่นิยมนำมารีไฟแนนซ์จะมีอายุไม่สูงมากเพราะธนาคารหรือสถาบันการเงินมักจะจำกัดอายุของรถยนต์ และนิยมนำรถยนต์ยี่ห้อตามท้องตลาดมารีไฟแนนซ์เพราะจะทำให้โอกาสรับการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์จะได้มากกว่า