วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

รับจ่ายส่งธนาคาร
Click to rate this post!
[Total: 496 Average: 5]

รับจ่ายส่งธนาคาร

วิธีทำ บัญชีรายรับ-รายจ่าย

เคยประสบปัญหาหรือไม่ในการประกอบกิจการแล้วไม่รู้ว่ารายรับรายจ่ายที่จะต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีถูกต้องหรือป่าว และไม่อยากจัดทำบัญชี ไม่อยากจ้างสำนักงานบัญชี ไม่ชอบวุ้นวายกับเอกสาร

การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ส่วนใหญ่ จะทำเพื่อ

1.รับรู้รายรับของกิจการตัวเอง

2.ยื่นกู้กับสถาบันการเงินต่างๆ

เหมาะสำหรับ

    • ผู้ประกอบที่เป็นบุคคลธรรมดา และไม่ได้เป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ธุรกิจร้านค้า
    • ขายของออนไลน์

หลักๆ สิ่งที่ต้องนำมาบันทึก ในรายรับ-รายจ่าย

    • รายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการ
    • ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อประโยชน์ของกิจการ

เอกสารรับจ่าย จำเป็นต้องเก็บหรือไม่ ?

ความจำเป็นในการจัดเก็บ หากสามารถเก็บไว้ได้ ให้เป็นระเบียบควรจัดเก็บไว้ แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าต้องจัดเก็บ แต่หากท่านคิดจะจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายแล้ว ควร บันทึกรายรับรายจ่าย จัดเก็บไว้ให้เป็นระเบียบ

รับจ่ายส่งธนาคาร

วิธีทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย เพื่อส่งธนาคาร

การจัดทำบัญชีรับจ่ายส่งธนาคาร เพื่อยืนกู้สินเชื่อต่างๆ สิ่งที่จำเป็นต้องมี ( เอกสารที่ใช้ยื่นขอสินเชื่อ )

1.ต้องนำรายรับที่ได้จากการประกอบกิจกาจเข้าบัญชีเพื่อแสดงรายการใน STATEMENT

        • ควรนำเงินสดฝากกับบัญชีธนาคาร 
        • ฝากอย่างสม่ำเสมอ หรือหากเป็นไปได้ ทุก หรือทุกสัปดาห์ เพื่อจะแสดงให้สถาบันการเงินของท่านเห็นว่า ท่านมีรายได้อย่างสม่ำเสมอ
        • ไม่ควรนำเงินเข้า แล้วถอนออกภายในวันเดียวอย่างต่อเนื่อง เพราะธนาคารจะมองว่าเป็นการผ่านบัญชีเฉยๆ
        • ควรฝากในชื่อของผู้ที่ต้องการกู้ เป็นระยะเวลาหนึ่ง

2.ใบเสร็จรับเงิน ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในที่จ่ายเพื่อประโยชน์ของกิจการเมื่อมีการรับเงินหรือ

        • ใบเสร็จรับเงิน
        • บิลซื้อของที่นำมาใช้เป็นต้นทุน
        • บิลส่งของ
        • ใบเสร็จต่างๆ

ประเภทอาชีพที่ทำบัญชี รายรับ รายจ่าย

ขอแบ่งเป็น 3 ประเภท หลัก

  1. อาชีพค้าขาย ธุรกิจร้านค้า งานบริการ ประเภทต่างๆ
  2. รับจ้าง
  3. เกษตรกร ทำไร ทำนา ทำสวน

ทั้ง 3 ประเภทนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพอิสระ ใช้สูตรการทำบัญชีเหมือนกันหมด คือ นำรายได้-ต้นทุน(ค่าใช้จ่าย) = กำไร/ขาทุน แต่!! ข้อมูลที่จะนำมาใช้จะมีข้อแตกต่างกันบ้าง ต้องศึกษาเพิ่มเติมในธุรกิจของท่าน  เมื่อได้ข้อมูลในแต่ละวันให้นำไปใส่ลงในบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่จัดทำขึ้น

ตัวอย่าง รายรับ-รายจ่ายร้านค้า , รายรับ-รายจ่าย ส่งธนาคาร

0001 1024x625 1

(นำข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ใส่ลงไป ตารางรายรับ-รายจ่าย)

ตารางรายรับรายจ่าย

รูปเงิดสด รับจ่าย 1 1024x724 1
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

นำมาคำนวณ

รายรับ                          26,450  บาท

รายจ่าย                        28,430  บาท

รายรับ – รายจ่าย =       -1,980  บาท

( จะเห็นได้ว่าบัญชีราย-รายจ่ายในเดือนนี้ ขาดทุน นั้นเอง )

รับจ้างทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

การทำบัญชีรายรับ-ร่ายจ่าย โดยปกติทั่วไป หากท่านเป็นผู้ประกอบการคนเดียว ไม่ต้องการจดทะเบียน ไม่ต้องการจัดทำบัญชีเพื่อ นำส่งส่งการเงิน แต่แค่อยากรับรู้ รายได้ ค่าใช้จ่าย ว่าอาชีพที่ทำอยู่ ก่อให้เกิด กำไร หรือขาดทุน

ในกรณีที่ท่านไม่สามารถจัดทำเองได้

    • พอทราบข้อมูลอยู่บ้างแล้ว
    • ไม่มีเวลา ไม่อยากทำเอง
    • อาชีพที่ท่านทำอยู่มีภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาเกี่ยว (เนื่องจากท่านมีรายได้เกินกว่า 1,800,000 บาท)
    • กลัวผิดพลาด เสียเวลาในการยื่นอนุมัติ

สิ่งที่ต้องทราบหากรับงาน หรือ จัดทำ บัญชีรายรับ – รายจ่าย คือ

  1. ต้องจัดทำเป็นภาษาไทย หากจัดทำเป็นภาษาต่างชาติให้มีภาษาไทยกำกับ
  2. ต้องลงรายการรับ-จ่าย ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย
  3. รายการที่นำมาลงในรายงานเงินสดรับ-จ่าย
    • ต้องมีเอกสารประกอบการลงรายงาน เช่น ใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จรับเงิน
    • รายจ่ายที่นำมาลงในรายงานรายรับ-รายจ่าย ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบธุรกิจ ต้องไม่เป็นรายจ่ายส่วนตัว
    • สำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายนั้น สามารถนำมาลงเป็นต้นทุนของสินค้า หรือค่าใช้จ่ายได้ทั้งจำนวน เพราะผู้ประกอบการไม่ได้อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • หากมีการขายสินค้า/ให้บริการ ซื้อสินค้า หรือจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆ เป็นเงินเชื่อ ให้บันทึกรายการนั้นในวันที่ได้รับชำระ หรือจ่ายชำระ โดยอธิบายเพิ่มเติมในช่องหมายเหตุ
    • การลงรายการรายรับและรายจ่ายสามารถลงเป็นยอดรวมของวัน โดยมีเอกสารประกอบรายรับ-รายจ่ายนั้น หรือลงแยกเป็นรายการก็ได้
    • สรุปยอดรายรับ รายจ่ายทุกๆ เดือน เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ท่านสามารถจ้างบุคคล หรือ สำนักงานบัญชี  ให้จัดทำบัญชีรายรับ – รายจ่ายได้ ไม่ถือว่าผิด

ตัวอย่างบัญชี รายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน

การบันทึกรายรับ – รายจ่าย หมายถึง การจดบันทึกรายการข้อมูลด้านการเงินของการปฏิบัติงานทั้งที่เกี่ยวข้องกับรายการที่รับเข้ามาและรายการที่ต้องจ่ายออกไป เพื่อให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านการเงินตลอดจนผลของการดำเนินงานนั้นไว้ว่าคงเหลือเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไรและ เปรียบเทียบผลการดำเนินกิจการว่าได้กำไรหรือขาดทุน ซึ่งการบันทึกรายการรับ – จ่าย เป็นพื้นฐานขั้นต้นของการจัดการด้านการเงินเพื่อใช้ใน การวางแผน การควบคุมการใช้เงินให้เกิดประโยชน์

ตัวอย่าง

วัน เดือน ปี 2048x1448 1 1024x724 1
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

การบันทึกบัญชี รายรัย-รายจ่าย ทำเอง

การจดบันทึกรายการข้อมูลด้านการเงินทั้งที่เกี่ยวกับรายการที่รับเข้ามาและรายการที่ต้องจ่ายออกไปในชีวิตประจำวัน เพื่อให้มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องทางด้านการเงิน ตลอดจนผลของการใช้จ่ายไปนั้นว่าคงเหลือเงินหรือไม่ จำนวนเท่าไร

ประโยชน์ของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

    • ทำให้ทราบฐานะทางการเงินว่าในแต่ละวันเราใช้จ่ายไปเท่าไหร่
    • ใช้ประกอบการวางแผนในการใช้จ่ายเงิน
    • ใช้เป็นข้อมูลรายจ่ายปรับลดค่าใช้จ่ายเพื่อให้เราเหลือเงินมากขึ้น
วัน เดือน ปี 1 1024x724 1
วิธีทำบัญชี รายรับ รายจ่าย ส่งธนาคาร

ธนาคารในประเทศไทย :
ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทิสโก้ ธนาคารธนชาต ธนาคารยูโอบี ธนาคารไทยเครดิตเพื่อรายย่อย ธนาคารแลนด์แอนด์ เฮ้าส์ ธนาคารไอซีบีซี ธนาคารออมสิน

การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสีย 7% ภายในกี่วัน VAT ในอัตรา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในกี่วัน VAT 10 คืออะไร ภาษีมูลค่าเพิ่ม กี่เปอร์เซ็น รายได้เท่าไรต้องจด VAT ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปัจจุบันเก็บในอัตราใด ใครจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายมีดังนี้ Tax คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดยังไง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษาอังกฤษ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร VAT 0 กับ Non VAT สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือที่ใด บุคคลธรรมดา จด vat หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ รายได้เกิน 8 ล้าน แต่ไม่ได้จด vat สาขา SBT คือ บริษัท ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับโรคโควิด หนังสือ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีบำรุงท้องที่คืออะไร หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร ภาษีสรรพสามิต คืออะไร ภาษีซื้อ หมายถึง
ปก การจัดการธุรกิจออนไลน์

การจัดการธุรกิจออนไลน์ แนวคิด มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การจัดการธุรกิจออนไลน์ หมายถึง การทําธุรกิจออนไลน์ มีอะไรบ้าง แนวคิด การทําธุรกิจออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง วิธีการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ คือ หลักการบริหารร้านค้า วิธีการสร้างธุรกิจใหม่มี 3 วิธี

Leave a Comment

Scroll to Top