ภาษีเงินได้นิติบุคคล ใหม่ 7 ที่ต้องเสีย อัตรา

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Click to rate this post!
[Total: 253 Average: 5]

ภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดเก็บ

ธุรกิจเมื่อดำเนินกิจการมาในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งจะต้องมีการคำนวณหาผลการดำเนินกิจการว่ามีกำไรหรือขาดทุนเท่าใด โดยการจัดทำงบการเงินซึ่งก็คืองบกำไรขาดทุนและงบดุล เมื่อกิจการได้กำไรสุทธิจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล หมายถึงภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลและได้กำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ

เป็นเครื่องมือของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการที่มีรายได้จากการประกอบกิจการหรือเนื่องจากการประกอบกิจการของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มีกำหนดสิบสองเดือนต่อหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังมีวิธีการจัดเก็บวิธีอื่นอีก คือ เก็บจากยอดรายรับหรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือเก็บจากค่าโดยสาร ค่าระวางฯ ของกิจการขนส่งระหว่างประเทศ หรือเก็บจากการจำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ เป็นต้น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้แก่ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ในประเทศไทย
  3. กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้าหรือหากำไรโดย รัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ นิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
  4. กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ได้แก่กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นการค้าหรือหากำไรระหว่างบุคคลดังต่อไปนี้คือ บริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
  6. นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจนุเบกษาให้เป็นบริษัหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ ดังนี้

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
  2. บริษัทจำกัดที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  3. บริษัทจำกัดและนิติบุคคลที่มีสภาพเช่นเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างประเทศ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่อยู่ในประเทศที่มีอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศไทย ตามเงื่อนไขที่กำหนดในอนุสัญญา
  5. มูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล

ฐานภาษีของภาษีเงินได้

ภาษีเงินได้คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้หรือฐานภาษีเงินได้นั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด

ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
ภาษีเงินได้ นิติบุคคล

วิธีการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล

  1. การเสียภาษีโดยยื่นรายการประเมินตนเอง
  2. การเสียภาษีโดยถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย
  3. การเสียภาษีโดยการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน

รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

ในการเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลจะคำนวณจากการนำรายได้หักออกจากค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิและนำกำไรสุทธิดังกล่าวไปเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคล และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนี้จะให้คำจำกัดความว่า ค่าใช้จ่าย หมายถึงการลดลงของประโยชน์ในรอบระยะเวลาบัญชีในรูปของการลดค่าของสินทรัพย์ หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สินอันส่งผลให้ส่วนของเจ้าของลดลง ทั้งนี้ไม่รวมถึงการแบ่งปันส่วนทุนให้กับผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการ และยังหมายรวมถึงผลขาดทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมตามปกติของกิจการ เช่น ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์

ค่าใช้จ่ายจำแนกการบริหารได้ดังนี้

  1. รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงาน เช่นเงินเดือน ค่าแรง โบนัส
  2. ค่าตอบแทนกรรมการ เช่นเบี้ยประชุมกรรมการ โบนัสกรรมการ หรือผลประโยชน์อื่นใดของกรรมการที่คำนวณเป็นเงินได้
  3. ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าโทรศัพท์ เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไปที่เกิดจากการใช้ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ เพื่อการประกอบกิจการหรือเพื่อหากำไร
  4. ค่าพาหนะ รายจ่ายในการเดินทาง ค่าที่พัก เป็นรายจ่ายที่พนักงานของกิจการจ่าย เช่นค่ารถแท็กซี่ ค่าตั๋วเครื่องบิน
  5. ค่าระวาง ค่าขนส่ง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวกับเงินค่าระวาง ค่าขนส่ง
  6. ค่าเช่า เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายเงินค่าเช่าทรัพย์สิน ที่กิจการได้เช่ามาจากเจ้าของทรัพย์สิน เช่น เช่าอาคาร เช่ารถยนต์ เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร
  7. ค่าซ่อมแซม เป็นรายจ่ายที่กิจการจ่ายไปเพื่อเป็นค่าซ่อมแซมทรัพย์สิน ค่าซ่อมแซมถือเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะเพื่อทำให้ทรัพย์สินนั้นคงสภาพเดิม
  8. ค่ารับรอง เป็นรายจ่ายเพื่อรับรองบุคคลภายนอกเช่นรับรองลูกหนี้ รับรองเจ้าหนี้
  9. ค่านายหน้า ค่าโฆษณา ค่าส่งเสริมการขาย เป็นรายจ่ายที่กิจการได้จ่ายไปเพื่อประโยชน์ต่อการเพิ่มยอดขาย
  10. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นรายจ่ายที่กิจการดำเนินงานที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่นการขายอสังหาริมทรัพย์
    ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
    ภาษีเงินได้ นิติบุคคล
  11. ค่าภาษีอากรอื่นๆ เป็นรายจ่ายค่าภาษี เช่นภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  12. ค่าดอกเบี้ยจ่าย เป็นรายจ่ายที่เป็นต้นทุนการกู้ยืมของกิจการ
  13. ค่าสอบบัญชี เป็นรายจ่ายค่าสอบบัญชีของกิจการ ซึ่งโดยมากแล้วมักจะเป็นค่าสอบบัญชีค้างจ่ายที่จะชำระในปีถัดไป
  14. ค่าการกุศลสาธารณะ เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์
  15. รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
  16. ค่าธรรมเนียมในการให้คำแนะนำและปรึกษา
  17. ค่าธรรมเนียมอื่น เช่นค่าธรรมเนียมธนาคาร
  18. หนี้สูญ เป็นรายจ่ายที่ได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแต่ไม่ได้รับชำระเงินจากลูกหนี้
  19. ค่าสึกหลอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน เช่นค่าเสื่อมราคาของเครื่องใช้สำนักงาน ค่าเสื่อมราคายานพาหนะ
  20. รายจ่ายอื่นๆที่นอกเหนือจากทุกข้อที่กล่าวมาในข้างต้น เช่นค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์ ค่าน้ำมันเชื้อเพลง ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดอื่นๆ
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย

Leave a Comment

Scroll to Top