ฐานภาษี มีกี่ 7 ประเภทภาษี อากร ที่ดี ทางตรงอ้อม

ฐานภาษี
Click to rate this post!
[Total: 2841 Average: 5]

ฐานภาษี คือ

ฐานภาษี คือ (TAX BASE)  สิ่งที่เป็นเงื่อนไขหรือมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้เกิดบุคคลที่จะต้องเสียภาษี หรือ สิ่งที่จะใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีอากร

ฐานภาษีที่สำคัญ ได้แก่

1.เงินได้  (Income)  เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่รายได้ ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องเสียภาษี

2.ทรัพย์สิน  (Property) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีทรัพย์สินอันอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ให้เสียภาษี ซึ่งได้แก่ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์  ภาษีกองมรดก

3.สินค้าและบริการ  (Goods and Servies) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากบุหรี่ สุรา การสั่งสินค้าเข้า การแสดงมหรสพ หรือที่เรียกว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร  อากรมหรสพ

4.สิทธิพิเศษในการประกอบการ  (Licences) เป็นฐานภาษีที่เรียกเก็บจากค่าธรรมเนียมในการอนุญาตให้ประกอบกิจการ  ไม่ว่าจะมีลักษณะผูกขาดหรือไม่

กฎหมายภาษีอากร

ประเภทของฐานภาษี มีอยู่กี่ประเภทอะไรบ้าง

ฐานภาษีมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 

  1. ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้ : เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ของบุลคลธรรมดา
  2. ภาษีเก็บจากฐานบริโภค : เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร
  3. ภาษีเก็บจากฐานทรัพย์สิน : เช่น ภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือง และที่ดิน

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ มูลค่าของสินค้าและบริการที่จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของสินค้าและบริการ

ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้ 4 กรณีดังนี้

  1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป
  2. ฐานภาษีส่งออก
  3. ฐานภาษีนำเข้า
  4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป

(จากมาตรา 79) ฐานภาษีกรณีทั่วไป คือ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า หรือให้บริการ รวมไปถึงภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง

  1. ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้า หรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าว ให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้
  2. ค่าชดเชยหรือเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  3. ภาษีขาย
  4. ค่าตอบแทนที่มีลักษณะ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

2. ฐานภาษีการส่งออก และนำเข้า

(จากมาตรา 79/1) การส่งออกสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ ภาษีอื่น ๆ และรวม ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ ราคา F.O.B

(จากมาตรา 79/2) การนำเข้าสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F.  รวมกับ ภาษีสรรพสามิต รวมกับ อากรขาเข้า 

  • ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมกับค่าขนส่ง และค่าประกันภัย
  • ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย  กับค่าระวางหรือค่าขนส่ง ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด

3. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. (จากมาตรา 79/3) การขายสินค้าหรือให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาดทั่วไป

2. การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือตามราคาตลาด

3. สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบสินค้า ถือว่าเป็นวันที่ความรับผิดเกิดขึ้น

4. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด

5. สินค้าคงเหลือหรือทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ให้ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

ประเภทของภาษีอากร

ในสังคมที่คนอยู่รวมกันเป็นหมู่มากจนมีขนาดใหญ่และถูกเรียกว่าประเทศ จำเป็นหน่วยงานกลาง เช่น รัฐบาล ทำหน้าที่จัดสรรโอนถ่ายทรัพยากร เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมร่วมกัน ซึ่งทรัพยาการที่ว่านั้นก็คือ “รายได้ ”  ที่ถูกจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายไปสู่สังคม ในรูปแบบการถูกเรียกเก็บ “ภาษีอากร” จากภาครัฐบาล

ดังนั้นในประเทศที่ระบบภาษีมีประสิทธิภาพ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องภาษี ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขยายตัวต่อเนื่องและมีเสถียรภาพมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้นในเนื้อเรื่องของบทความต่อไปนี้ คือประเภทของภาษีอากรที่ทุกคนต้องรู้

ภาษีอากรจำแนกได้อย่างไร

ในความเป็นจริงแล้วภาษีอากรมีหลักเกณฑ์ในการจำแนกที่หลากหลาย เช่น จำแนกตามระดับที่จัดเก็บ จำแนกตามวิธีการประเมินภาษี จำแนกด้วยหลักการรับภาษีอากรทั้งทางตรงและทางอ้อม ฯลฯ

ซึ่งไม่ว่าจะจำแนกด้วยวิธีไหน ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญในประเทศไทย ก็ประกอบไปด้วย 8 ประเภทหลัก ดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากกิจการ/ ธุรกิจ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทฯ หรือรูปแบบห้างหุ้นส่วน โดยคิดคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิของกิจการ โดยผู้ประกอบกิจการต้องทำหน้าแสดงภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 แบบ คือ ภ.ง.ด 50 สำหรับรอบบัญชี ภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี และ ภ.ง.ด 51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือนหลัง ปิดรอบบัญชีครึ่งปี

2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ วิธีหนึ่งในการจัดเก็บภาษีล่วงหน้า ซึ่งเป็นภาษีที่ถูกหักไว้ตั้งแต่ตอนผู้จ่ายหรือคู่ค้า ทำการ “จ่ายเงินได้” ให้กับเราหรือกิจการของเรานั่นเอง (ซึ่งมีอัตราการหักภาษีตั้งแต่ 3%-5% แล้วแต่กรณี) โดยผู้ที่ทำหน้าที่หักภาษีนี้ไว้ ต้องนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ จำนวนเงินที่คิดเพิ่มจากมูลค่าของสินค้าและบริการ (ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ที่ 7%) ซึ่งผู้ประกอบกิจการที่มีรายได้ตั้งแต่ 1.8 ล้านขึ้นไปต่อปีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร จะต้องทำหน้าที่เรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ซื้อและนำส่งให้กับรัฐ โดยผู้ประกอบจะออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อทุกครั้งและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมสรรพากรทุกๆวันที่ 15 ของเดือน

4.  ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บสำหรับกิจการที่เฉพาะเจาะจง เช่น  การธนาคาร การจำนำ ประกันชีวิต หรือการขายอสังหาริมทรัพย์หรือที่ดินในเชิงการค้าเพื่อทำกำไร

5. อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการทำสัญญาร่วมกัน เช่น สัญญาเช่าที่ สัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจ้างทำของ เป็นต้น

6. ภาษีศุลกากร คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อเป็นกำแพงภาษีป้องกันราคาสินค้าและคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ แต่ปัจจุบันเริ่มลดความสำคัญลงเนื่องจากหลายประเทศรวมตัวกันเปิดการค้าเสรีเพิ่มมากขึ้น

7. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บกับประชาชนทั่วไปที่ประกอบอาชีพและมีรายได้เกิดขึ้นและมีจำนวนเงินได้ต่อปีเข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งกฏหมายกำหนดให้ผู้มีรายได้ทุกคนต้องยื่นแบบแสดงภาษีทุกปี ถึงแม้จะมีรายได้ไม่ถึงหลักเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็ตาม

8. ภาษีสรรพสามิต คือภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบการสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่ต้องรับภาระทางภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือเกิดผลเสียต่อสุขภาพและสังคม เช่น เหล้า บุหรี่ เป็นต้น

และนี่คือ 8 ประเภทของภาษีอากรที่สำคัญซึ่งคนไทยทุกคนควรมีความรู้เบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องศึกษาประเภทภาษีในหัวข้อ 1 – 5 ให้เข้าใจถ่องแท้ เพราะหากยื่นภาษีไม่ครบและไม่ถูกต้อง นอกจากจะต้องเสียภาษีเพิ่มเติมแล้วอาจจะโดนเบี้ยปรับ จนส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกิจการก็เป็นได้

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

++++ ฐานภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล ++++

ภาษีเงินได้นิติบุคคลภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจากเงินได้ที่ใช้เป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีคูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนด ดังนั้น เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือฐานภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โดยทั่วไปได้แก่กำไรสุทธิที่คำนวณตามเงื่อนไขที่กำหนด แต่เพื่อความเป็นธรรมและอุดช่องว่างในการจัดเก็บภาษีเงินได้ จึงได้มี การบัญญัติจัดเก็บภาษีเงินได้ นิติบุคคล จากเงินได้หรือฐานภาษี ที่แตกต่างกัน ดังนี้

(1) กำไรสุทธิ

(2) ยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย

(3) เงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

(4) การจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย

 

ความหมายของภาษีอากร

  1. ความหมายของภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากรอาจแบ่งเป็น 2 แนว

แนวที่หนึ่ง อธิบายว่า ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้  เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร

แนวที่สอง อธิบายว่า ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล  แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล 

  1. วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีอากร

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้  ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า  รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน  หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล  (เช่น  การศึกษา  การสวัสดิการสังคม  นโยบายประชากร)  ด้วย

  1.    ลักษณะของภาษีอากรที่ดี

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น  มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง  เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากรและให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้

        3.1   มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคนประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล 

        3.2    มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ

        3.3   มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร

        3.4    มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด

        3.5   มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

        3.6   มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 

  1.  โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร

กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้อสำคัญอันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น  6 หัวข้อด้วยกัน  คือ

        4.1   ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร หรือผู้อยู่ในข่ายเสียภาษีอากร จะเป็นใครบ้างย่อมแล้วแต่กฎหมายนั้นๆ จะกำหนด แต่โดยทั่วไปมักได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

        4.2  ฐานภาษีอากร  ในความหมายอย่างกว้าง  หมายถึงสิ่งที่เป็นมูลเหตุให้ต้องเสียภาษีอากร  เช่น การมีรายได้  การมีทรัพย์สิน  หรือการใช้จ่าย  เป็นต้น  ในความหมายอย่างแคบ   หมายถึง  สิ่งที่รองรับอัตราภาษีอากร  (ภาษีอากรที่ต้องเสีย =  ฐานภาษีอากร  ×  อัตราภาษีอากร)

        4.3  อัตราภาษีอากร  แบ่งเป็น 3 แบบใหญ่ๆ  คือ  แบบคงที่  แบบก้าวหน้า แบบถดถอย  ทั้งนี้โดยการพิจารณาว่าอัตราภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงไป  กล่าวคือ  ถ้าจำนวนของฐานภาษีอากรเปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง  แต่อัตราภาษีอากรยังคงเท่าเดิม เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้เรียกว่าอัตราภาษีอากรแบบคงที่ เช่น อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบันและ  อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม  แต่ถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นและอัตราภาษีอากรก็เพิ่มขึ้นด้วย  เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบก้าวหน้า  เช่น  อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  และถ้าฐานภาษีอากรมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่อัตราภาษีอากรกลับลดลง เรียกอัตราภาษีอากรลักษณะนี้ว่าอัตราภาษีอากรแบบถดถอย  เช่น  อัตราภาษีบำรุงท้องที่

        4.4  การประเมินจัดเก็บภาษีอากร ภาษีอากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรเป็นผู้ดำเนินการประเมินตนเอง โดยประเมินหรือคำนวณตามวิธีการและตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ แล้วยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีอากรตามจำนวนที่พึงต้องชำระ  ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรไม่ดำเนินการประเมินตนเองหรือประเมินตนเองอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่สมบรูณ์ก็จะมีการประเมินโดยเจ้าพนักงานซึ่งในกรณีหลังนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินให้ผู้เสียภาษีอากรต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม

และหรือเบี้ยปรับเพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก ภาษีอากรที่ต้องเสียในบางกรณีแม้ไม่ถึงกำหนดเวลาชำระภาษีอากร  เจ้าพนักงานประเมินก็อาจดำเนินการประเมินล่วงหน้าให้ผู้เสียภาษีอากรต้องชำระภาษีอากรก่อนถึงกำหนดเวลาได้  นอกจากนี้ในหลายๆ กรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ภาษีเป็นผู้ดำเนินการหักภาษีจากจำนวนเงินที่จ่ายแล้วนำส่งต่อเจ้าพนักงานภายในกำหนดเวลา  

ดังที่เรียกว่าการหักภาษี  ณ  ที่จ่าย ภาษีที่ถูกหักไว้นี้มักถือเป็นเครดิตของผู้มีหน้าที่เสียภาษี  ซึ่งสามารถนำไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสียเมื่อถึงกำหนดเวลาหรืออาจได้รับคืนถ้าถูกหักไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสีย  อนึ่งเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบไต่สวนประเมินภาษีอากรและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีอากร กฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือผู้ที่กฎหมายกำหนดต้องปฏิบัติหน้าที่บางประการ เช่น  การจดทะเบียน  การมีและการใช้เลขประจำตัว  การจัดทำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานบางอย่าง  รวมทั้งให้เจ้าพนักงานมีอำนาจตรวจค้น  ยืด  หรืออายัดหลักฐานต่างๆ ในบางกรณีด้วย

         4.5  การอุทธรณ์ภาษีอากร  ในกรณีเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร  เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียหรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  และผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องการให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่  กฎหมายมักกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีหาข้อยุติให้ครบถ้วนเสียก่อน  มิฉะนั้นผู้เสียสิทธิในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้  ตัวอย่าง เช่น  การประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  หรืออากรแสตมป์นั้น  ถ้าผู้เสียภาษีอากรไม่เห็นด้วยกับ การประเมินเรียกเก็บ  ก็จะต้องอุทธรณ์  การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เสียก่อนภายใน  30  วันนับตั้งแต่วันได้รับแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากร  จะนำคดีขึ้นสู่ศาลทันทีไม่ได้

        4.6   เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ ผู้ไม่ชำระภาษีอากรจะต้องรับผิดชอบในจำนวนภาษีอากรที่ไม่ชำระพร้อมด้วยเบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มเป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นต่างหาก ถ้าฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ กฎหมายมักให้อำนาจเจ้าพนักงานดำเนินการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากรไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชำระภาษีอากรค้างโดยไม่ต้องฟ้องคดีศาล นอกจากนี้ยังอาจต้องรับโทษทางอาญาอีกโสดหนึ่ง เช่น เสียค่าปรับและหรือต้องระวางโทษจำคุกอีกด้วย

  1.  การจำแนกประเภทภาษีอากร

ภาษีอากรซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลนั้น  จำแนกได้หลายประเภท  กฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการจัดเก็บภาษีอากรก็มีหลายฉบับ  และมีหน่วยงานของรัฐหลายหน่วยงานทำหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการจัดการเก็บภาษีอากรประเภทต่างๆ  เหล่านี้ 

การจำแนกเยอะแยะ  ภาษีอากรประเภทต่างๆ เพื่อจัดให้เป็นหมวดหมู่นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ จากลักษณะการรับภาษีอากร

การจำแนกประเภทภาษีอากร  โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

        ประเภทที่หนึ่ง  ภาษีทางตรง  ได้แก่  ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก  เช่น  ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  ภาษีเงินได้นิติบุคคล 

        ประเภทที่สอง  ภาษีทางอ้อม  ได้แก่  ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่  หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง  ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย  เช่น  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ  ภาษีศุลกากร  ภาษีสรรพสามิต

  1.  ประมวลรัษฎากร

ประมวลรัษฎากร เป็นชื่อของกฎหมายภาษีอากรฉบับหนึ่ง มีผลใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร  พ.ศ. 2481กฎหมายฉบับนี้เดิมเป็นที่รวมกฎหมายภาษีอากรสำคัญหลายประเภท แต่ปัจจุบันเป็นที่รวมของกฎหมายภาษีอากรเพียง  4 ประเภทด้วยกัน คือ

ประเภทที่ หนึ่ง ภาษีเงินได้ แบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีนั้นจัดเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง

ประเภทที่สอง  ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ประเภทที่สาม  ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นระบบภาษีใหม่ที่นำมาบังคับใช้แทนภาษีการค้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม  พ.ศ. 2535 ภาษีเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานการใช้จ่ายบริโภคอุปโภคทั่วไปทั้งสิ้น

ประเภทที่สี่ อากรแสตมป์  จัดเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง

        ภาษีอากรทั้ง 4 ประเภทซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไปนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่และ การควบคุมของกรมสรรพากร  อนึ่งการอ้างถึงเลขมาตราต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้  ล้วนหมายถึงเลขมาตราในประมวลรัษฎากร  ทั้งนี้ เว้นแต่จะมีข้อความแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น

และปัจจุบัน กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจการที่การเจริญเติบโตมาก แต่ผู้ประกอบการบางส่วนยังไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร ดังนั้นกรมสรรพากรจึงรวบรวมประเภท ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ที่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แสดงให้ผู้ประกอบการทราบเพื่อจักได้ดำเนินการอย่างถูกต้องต่อไป

การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสีย 7% ภายในกี่วัน VAT ในอัตรา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในกี่วัน VAT 10 คืออะไร ภาษีมูลค่าเพิ่ม กี่เปอร์เซ็น รายได้เท่าไรต้องจด VAT ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปัจจุบันเก็บในอัตราใด ใครจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายมีดังนี้ Tax คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดยังไง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษาอังกฤษ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร VAT 0 กับ Non VAT สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือที่ใด บุคคลธรรมดา จด vat หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ รายได้เกิน 8 ล้าน แต่ไม่ได้จด vat สาขา SBT คือ บริษัท ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับโรคโควิด หนังสือ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีบำรุงท้องที่คืออะไร หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร ภาษีสรรพสามิต คืออะไร ภาษีซื้อ หมายถึง
ปก การจัดการธุรกิจออนไลน์

การจัดการธุรกิจออนไลน์ แนวคิด มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การจัดการธุรกิจออนไลน์ หมายถึง การทําธุรกิจออนไลน์ มีอะไรบ้าง แนวคิด การทําธุรกิจออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง วิธีการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ คือ หลักการบริหารร้านค้า วิธีการสร้างธุรกิจใหม่มี 3 วิธี

Leave a Comment

Scroll to Top