พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานน้ำ ประเภท เกิดขึ้น

พลังงานนิวเคลียร์
Click to rate this post!
[Total: 1965 Average: 5]

พลังงาน

พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้ ความสามารถดังกล่าวนี้เป็นความสามารถของวัตถุใดมีพลังงานวัตถุนั้นก็สามารถทำงานได้และคำว่างานในที่นี้เป็นผลของการกระทำของแรง ซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรง สิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งหรือเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมได้ สิ่งนั้นย่อมมีพลังงานอยู่ภายใน พลังงาน คือ ความสามารถที่จะทำงานได้โดยอาศัยแรงงานที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติโดยตรง และที่มนุษย์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดัดแปลงใช้จากพลังงานตามธรรมชาติ ตามคำนิยามของนักวิทยาศาสตร์

พลังงาน คือ ความสามารถในการทำงาน (Ability to do work) โดยการทำงานนี้อาจจะอยู่ในรูปของการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปของวัตถุก็ได้

พลังงาน คือ ความสามารถของสิ่งใด สิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้ ซึ่งงานเป็นผลจากการกระทำของแรงเป็นเหตุให้สิ่งนั้นเคลื่อนที่ ซึ่งคุณสมบัติ โดยทั่วไปของพลังงานมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำงานได้และเปลี่ยนรูปได้

เนื่องจากความหลากหลายของพลังงานที่มีอยู่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ศึกษาอาจเกิดความเข้าใจสับสนจึงได้มีนักวิชาการพยายามที่จะจำแนก อธิบายพลังงานเพื่อให้ง่ายต่อการศึกษามากยิ่งขึ้นพลัง-งานสามารถจำแนกได้ ดังนี้

จำแนกพลังงานตามแหล่งที่ได้มา

พลัง-งานต้นกำเนิด (Primary energy) หมายถึง แหล่งพลัง-งานที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่แล้วตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยตรง ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลัง-งานความร้อนใต้พิภพ แร่นิวเคลียร์ ไม้ฟืน แกลบ ชานอ้อย เป็นต้น
พลัง-งานแปรรูป (Secondary energy) หมายถึง สภาวะของพลัง-งานซึ่งได้มาโดยการนำพลัง-งานต้นกำเนิดดังกล่าวแล้วข้างต้นมาแปรรูป ปรับปรุง ปรุงแต่ง ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ กันได้ตามความต้องการ เช่น พลัง-งานไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านไม้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เป็นต้น

จำแนกพลังงานตามแหล่งที่นำมาใช้ประโยชน์

พลัง-งานสิ้นเปลือง (Non – renewable energy resources) หรือพลัง-งานฟอสซิลได้แก่ น้ำมัน รวมทั้งหินน้ำมัน ทรายน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ที่เรียกว่าใช้แล้วหมดก็เพราะหามาทดแทนไม่ทันการใช้ พลัง-งานพวกนี้ปกติแล้วจะอยู่ใต้ดิน ถ้าไม่ขุดขึ้นมาใช้ตอนนี้ ก็เก็บไว้ให้ลูกหลานใช้ได้ในอนาคต บางทีจึงเรียกว่าพลัง-งานสำรอง
พลัง-งานหมุนเวียน (Renewable energy resources) พลัง-งานประเภทนี้ ได้แก่ ไม้ กระดาษ ฟืน แกลบ กาก (ชาน) อ้อย ชีวะมวล (เช่น มูลสัตว์ และก๊าซชีวภาพ) น้ำ (จากเขื่อนไหลมาหมุนกังหันปั่นไฟ) แสงอาทิตย์ (ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าได้) ลม (หมุนกังหันลมผลิตไฟฟ้า) และคลื่น (กระแทกให้กังหันหมุนปั่นไฟ) และที่ว่าใช้ไม่หมดก็เพราะสามารถหามาทดแทนได้ เช่น ปลูกป่าเอาไม้มาทำฟืน หรือปล่อยน้ำจากเขื่อนมาปั่นไฟ แล้วไหลลงทะเล กลายเป็นไอ และเป็นฝนตกลงมาสู่โลกอีก หรือแสงอาทิตย์ที่ได้รับจากดวงอาทิตย์อย่างไม่มีวันหมดสิ้น

จำแนกพลังงานตามลักษณะการผลิต

พลัง-งานตามแบบ (Conventional energy) เป็นพลัง-งานที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีลักษณะการผลิตเป็นระบบศูนย์กลางขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาจนเกือบ อิ่มตัวแล้ว เช่น พลัง-งานน้ำขนาดใหญ่ น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นต้น
พลัง-งานนอกแบบ (Non – conventional energy) ได้แก่ พลัง-งานที่ยังมี ลักษณะการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการ ทำวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีหลายชนิดที่มีความเหมาะสมทางเทคนิคแล้ว แต่ยังต้องปรับปรุงความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ เช่น พลังน้ำขนาดเล็ก ก๊าซชีวภาพ ก๊าซจากชีวะมวล หินน้ำมัน พลัง-งานความร้อนใต้พิภพ พลัง-งานแสงอาทิตย์และพลัง-งานลม เป็นต้น

จำแนกพลังงานตามลักษณะทางการค้า

พลัง-งานทางพาณิชย์ (Commercial energy) เป็นพลัง-งานที่มีการซื้อขายกันในวงกว้างและดำเนินการผลิตในลักษณะอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่นิวเคลียร์ ไฟฟ้า เป็นต้น
พลัง-งานนอกพาณิชย์ (Non – commercial energy) เป็นพลัง-งานที่มีการซื้อขายกันในวงแคบและดำเนินการผลิตในลักษณะกิจกรรมในครัวเรือนใช้กันมากในชนบท เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย และมูลสัตว์ เป็นต้น

จำแนกพลังงานตามลักษณะการทำงาน

พลัง-งานศักย์ (Potential Energy) เป็นพลัง-งานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกวางอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ไม่ว่าจากแรงโน้มถ่วงหรือแรงดึงดูดจากแม่เหล็ก เช่น ก้อนหินที่วางอยู่บนขอบที่สูง
พลัง-งานจลน์ (Kinetic Energy) เป็นพลัง-งานที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ เช่น รถที่กำลังวิ่ง ธนูที่พุ่งออกจากแหล่ง จักรยานที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นต้น
พลัง-งานสะสม (Stored Energy) เป็นพลัง-งานที่เก็บสะสมในวัสดุหรือสิ่งของต่าง ๆ เช่น พลัง-งานเคมีที่เก็บสะสมไว้ในอาหาร ในก้อนถ่านหิน น้ำมัน หรือไม้ฟืน ซึ่งพลัง-งานดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในรูปขององค์ประกอบทางเคมีหรือของวัสดุหรือ สิ่งของนั้น ๆ และจะถูกปล่อยออกมาเมื่อวัสดุหรือสิ่งของดังกล่าวมีการเปลี่ยนรูป เช่น การเผาไม้ฟืนจะให้พลัง-งานความร้อน

 

ความสำคัญของพลังงาน

พลัง-งานมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกในด้านต่าง ๆ อย่างมากมายนำมากล่าวโดยสรุปได้ดังนี้

  1. พลังงานในการประกอบกิจกรรมหรือการปฏิบัติงานต่าง ๆ
    – การเคลื่อนไหวซึ่งอาจเป็นส่วนที่เคลื่อนไหวอวัยวะ เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจของปอด การไหลของไซโตพลาสซึมที่เรียกว่า ไซโคลซิสหรือการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหวแขน ขา การเดิน การหุบของใบ และการเคลื่อนที่ของยอดพืชเข้าหาแสง
    – กระบวนการทางสรีระ เช่น การแบ่งเซลล์ การหดตัวของเซลล์กล้ามเนื้อ การทำงานของเซลล์ประสาท การสังเคราะห์แสง การดูดแร่ธาตุและสารอาหารด้วยกระบวนการซึ่งใช้พลัง-งานของพืช
    – การติดต่อสื่อสารซึ่งจะต้องใช้พลัง-งาน เช่น พลัง-งานเสียงเพื่อการพูดคุย พลัง-งานแสงช่วยในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ การติดต่อสื่อสารโดยการใช้การแสดงออกด้วยท่าทาง ต่าง ๆ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะใช้ประโยชน์สำหรับการส่งวิทยุและโทรทัศน์ และเมื่อมีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยเทคโนโลยีการสื่อสารก็จะเกิด เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. พลังงานมีความสำคัญสำหรับการทำงานของเครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์
    – พลัง-งานไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้
    – พลัง-งานจากสารเชื้อเพลิงประเภทที่เรียกว่า ฟอสซิลโดยเฉพาะน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะประเภทต่าง ๆ
    – พลัง-งานช่วยให้อุปกรณ์สำรวจสามารถทำงานได้
    – พลัง-งานช่วยให้อุปกรณ์ทางการแพทย์สามารถทำงานได้
  3. พลังงานทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ
    – การเกิดฟ้าร้อง ฟ้าแลบ และฟ้าผ่าซึ่งเกิดจากการที่ก้อนเมฆถูกลมพัดเคลื่อนที่เกิดการเสียดสีกันกับอากาศและเกิดไฟฟ้าสถิตขึ้น ในที่สุดจะมีการกระโดดของอิเล็กตรอนจากก้อนเมฆที่มีประจุไฟฟ้าลบ ไปสู่ก้อนที่มีประจุบวกหรือลงสู่พื้นดินซึ่งในขณะที่กระแสอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านอากาศและผ่านพ้นไปแล้ว อากาศจะเคลื่อนที่เข้ามากระทบกันเป็นผลทำให้เกิดเสียง
    – การถูกกัดเซาะและพังทลายของพื้นที่ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพลังน้ำที่อาจเป็นพลัง-งานจากฝนหรือกระแสน้ำ และพลัง-งานลมจะทำให้เกิดการถูกกัดเซาะและการพังทลายของพื้นที่
    – ความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากพลัง-งานลมและกระแสน้ำซึ่งอาจก่อให้เกิด ความเสียหายขึ้นกับอาคาร สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าไม้ได้ พลัง-งานเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ในโลกปัจจุบันและทวีความสำคัญขึ้น เมื่อโลกยิ่งพัฒนามากยิ่งขึ้นแหล่งพลัง-งานค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นแหล่งพลัง-งาน ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการผลิตมากยิ่งขึ้น จากน้ำมันปิโตรเลียมเป็นพลัง-งานแสงอาทิตย์

ประเภทของพลังงาน

ประเภทของพลังงาน 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่

  • พลังงานเคมี (Chemical Encrgy)
                พลัง-งานเคมีเป็นพลัง-งานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลัง-งานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อนและแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลัง-งานที่ถูกเก็บไว้ในแบตเตอรี่, พลัง-งานในกองฟืน, พลัง-งานในขนมชอกโกแลต, พลัง-งานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จึงให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน
  • พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
                 แหล่งกำเนิดพลัง-งานความร้อน มนุษย์เราได้พลัง-งานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลัง-งานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลัง-งานไฟฟ้า, พลัง-งานนิวเคลียร์, พลัง-งานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลัง-งานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลัง-งานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์
  • พลังงานกล (Mechanical Energy)
                 พลัง-งานกลเป็นพลัง-งานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลัง-งานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลัง-งานศักย์จะลดลง และเกิดพลัง-งานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลัง-งานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น
  • พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
                  พลัง-งานที่มาในรูปของคลื่น เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลัง-งานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลัง-งานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลัง-งานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลัง-งานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลัง-งานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลัง-งานจากหลอดไฟ, พลัง-งานจากเตาไมโครเวฟ, พลัง-งานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ
  • พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
                  พลัง-งานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลัง-งานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลัง-งานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลัง-งานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น
  • พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)
                 พลัง-งานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลัง-งานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลัง-งานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย

พลัง-งานกล

       พลัง-งานกลเป็นพลัง-งานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่หรือพร้อมที่จะเคลื่อนที่  แบ่งออกเป็น  2  อย่าง  คือ พลัง-งานศักย์และพลัง-งานจลน์

  1. พลัง-งานศักย์ (potential energy : Ep ) คือ พลัง-งานที่สะสมอยู่ในตัววัตถุหรือสสารที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ยังไม่เกิดการเคลื่อนที่ ถ้าวัตถุอยู่บนพื้นที่สูงจากระดับพื้นดินขึ้นไป พลัง-งานที่สะสมอยู่ในตัวของวัตถุนี้จะเกิดจากแรงดึงดูดของโลกจึงเรียกว่า “พลัง-งานศักย์โน้มถ่วง”

             การคำนวณพลัง-งานศักย์โน้มถ่วงใช้สูตรดังนี้

                                          Ep = mgh        

  1.   พลัง-งานจลน์ ( kinetic energy : Ek )  คือ  พลัง-งานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่

                การคำนวณพลัง-งานจลน์ใช้สูตร  Ek = 1/2mv2

 

กฎการอนุรักษ์พลัง-งาน

              กฎการอนุรักษ์พลัง-งาน (Law of conservation of energy) กล่าวไว้ว่า “พลัง-งานรวมของวัตถุจะไม่สูญหายไปไหน  แต่สามารถเปลี่ยนจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งได้”

 

พลัง-งานความร้อน

       พลัง-งานความร้อนเป็นพลัง-งานรูปหนึ่งที่สามารถทำงานได้และเปลี่ยนรูปมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จากดวงอาทิตย์  พลัง-งานไฟฟ้า พลัง-งานความร้อนใต้พิภพ  หรือเกิดจากปฏิกิริยาเคมี  พลัง-งานเหล่านี้ล้วนแต่มีความสำคัญในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

 

ที่มา:sites.google.com/site/writerdarkhorse/bth-thi-10-phlangngan,krtc.ac.th/html/images/stories/chapter1.pdf

strategy

กลยุทธ์ 3 ข้อ ธุรกิจ วางแผน ระดับองค์กร อะไร

กลยุทธ์ กลยุทธ์ คือ แผน กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ ทางการ ตลาด คือ กลยุทธ์ CSR คือ อะไร กลยุทธ์ การ ตลาด คือ กลยุทธ์ seo คือ กลยุทธ์ synergy คือ กลยุทธ์ ป่า ล้อม เมือง คือ กลยุทธ์ 4p คือ กลยุทธ์ imc คือ กลยุทธ์ differentiation คือ กลยุทธ์ ต้นทุน ต่ำ คือ กลยุทธ์ white ocean strategy คือ กลยุทธ์ 7ps คือ กลยุทธ์ 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ 3c คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 3r คือ กลยุทธ์ tows matrix คือ กลยุทธ์ การ ตลาด สมัยใหม่ ยุค 3.0 คือ อะไร กลยุทธ์ CSV คือ กลยุทธ์ blue ocean คือ กลยุทธ์ 5c คือ
ปก การสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า

การสร้าง ส่งเสริมความสัมพันธ์กับ ลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ตัวอย่าง กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 4 ขั้นตอน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า kfc กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ

Leave a Comment

Scroll to Top