บัญชีมูลค่าเพิ่ม 7 บันทึก จัดทํารายงาน เอกสาร

บัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม
Click to rate this post!
[Total: 2903 Average: 5]

บัญชีมูลค่าเพิ่ม

การจัดทำบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม

บัญชีมูลค่าเพิ่ม

ความรู้ขั้นพื้นฐานของภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้จัดทำบัญชีและผู้ประกอบการจะต้องมีความแม่นยำทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งสรุปรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังต่อไปนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ โดยมูลค่าที่เพิ่มเป็นมูลค่าของส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนในการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการ ก็คือค่าของผลต่างระหว่างราคาของสินค้าหรือบริการ ผลิตหรือจำหน่าย กับราคาของสินค้าหรือบริการที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิตหรือในการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ

ผู้ที่มีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

คือผู้ที่ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการหรือวิชาชีพเป็นปกติ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาล ถ้าการประกอบกิจการมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ผู้ประกอบกิจการนั้นมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากการประกอบกิจการนั้นเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการไม่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้แก่

จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการ
  2. ผู้นำเข้า
  3. ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักรและได้ขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักเป็นปกติธุระโดยมีตัวแทนอยู่ในราชอาณาจักรได้แก่ ตัวแทนดังกล่าว
  4. ในกรณีการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ถ้าภายหลังได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือโอนสิทธิในบริการนั้นไปให้กับบุคคลที่มิใช่องค์การสหประชาชาติ สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วนี้ถือเป็นผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในการบริการดังกล่าว
  5. ในกรณีสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. ในกรณีที่มีการควบเข้ากันได้แก่ ผู้ที่ควบเข้ากันและผู้ประกอบการใหม่
  7. ในกรณีโอนกิจการได้แก่ ผู้โอนและผู้รับโอน
  8. ในกรณีผู้ประกอบการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการ รวมตลอดถึงลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนที่ซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรงหรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว
  2. ผู้ประกอบการที่ให้บริการมาจากต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

 

ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้

  1. ผู้ประกอบกิจการขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยา หรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน
  2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  3. การให้บริการขนส่ง ในราชอาณาจักรโดยอากาศยาน
  4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. การขายสินค้าที่มิใช่การส่งออกหรือการให้บริการดังต่อไปนี้
  • การขายพืชผลทางการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นลำต้น กิ่ง ใบ เปลือก หน่อ ราก เหง้า แต่ไม่รวมถึงไม้ซุง ฟืน หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเลื่อยไม้หรือผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
  • การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต และในกรณีสัตว์ไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม
  1. การนำเข้าสินค้าดังต่อไปนี้
  • สินค้าจากต่างประเทศที่นำเข้าไปในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
  • สินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
  • สินค้าซึ่งนำเข้าและอยู่ในอารักขาของศุลกากร แล้วได้ส่งกลับออกไปต่างประเทศ โดยคืนอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อกิจการได้มีการจดทะเบียนในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มทุกสิ้นเดือนในแต่ละเดือนปฏิทิน แล้วยื่นแบบชำระภาษี ให้กับกรมสรรพากรในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังนี้

ภาษีที่ต้องชำระ = ภาษีขาย-ภาษีซื้อ

รายละเอียดประกอบการคำนวณ

  1. ภาษีขาย หมายถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อกิจการได้ขายสินค้าหรือให้บริการและภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ที่เสียในกรณีที่เป็นการขายสินค้า
  2. ภาษีซื้อ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการเมื่อได้ซื้อสินค้าหรือนำบริการมาใช้ในกิจการของตนเอง
  3. ภาษีที่ต้องชำระ หมายถึง การนำภาษีขายและภาษีซื้อมาเปรียบเทียบกันซึ่งภาษีซื้อและภาษีขายจะต้องเป็นรายการค้าที่เกิดขึ้นในเดือนเดียวกัน

การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่มีรายรับตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% หรือ 0% ก็ตาม แนวปฏิบัติในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีดังต่อไปนี้

  1. แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. การกรอกแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. เอกสารแสดงหลักฐานทุกอย่างที่มีความเกี่ยวข้อง ติดต่อสอบถามยื่นขอจดทะเบียน ณ.เขตภูมิลำเนา ถ้ามีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้สถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่เป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยระบุว่ามีสาขาทั้งสิ้นกี่แห่ง
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย

Leave a Comment

Scroll to Top