บัญชีต้นทุน 7 ผู้บริหาร การบัญชี กิจการ

บัญชีต้นทุน
Click to rate this post!
[Total: 4448 Average: 5]

ต้นทุน

ต้นทุน คือ จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอนตั้งแต่การแปรสภาพวัตถุดิบจนแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าสำเร็จรูป

การบัญชีต้นทุน

การบัญชี ต้นทุน (Cost Accounting) จึงหมายความถึง วิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร
ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแต่ธุรกิจเท่านั้นที่จะต้องใช้วิธีการทางบัญชีหรือข้อมูลของบัญชี ต้นทุน แต่ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภท เช่น โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทสายการบิน และกิจการอื่น ๆ  อีกมากมายที่ได้มีการนำวิธีการบัญชีต้นทุนไปประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

บัญชีต้นทุน

วัตถุประสงค์ของการทำบัญชี ต้นทุน

ดังนั้นหากกล่าวโดยสรุป วัตถุประสงค์ของการทำบัญชี ต้นทุน คือการสะสมและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของกิจการ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจหรือการวางแผนและควบคุมต้นทุนของฝ่ายบริหารระดับต่างๆขององค์กร / กิจการ ซึ่งโดยปกติแล้วการบัญชี ต้นทุนจะทำหน้าที่หลักในการสะสมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้ประมาณมูลค่าของสินค้าคงเหลือ นอกจากนี้การบัญชี ต้นทุนยังเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมาณหรือการพยากรณ์ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อการตัดสินใจอีกด้วย

บทบาทของการทำบัญชี ต้นทุน

ซึ่งในส่วนนี้เองจึงทำให้การบัญชี ต้นทุนเข้ามามีบทบาทเพื่อการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร ในปัจจุบันนี้การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและการผลิตได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น การนำเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นต้น การนำบัญชีต้นทุนเข้ามาใช้เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่ถูกต้อง และมีความสามารถที่จะให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ฝ่ายบริหารได้อย่างรวดเร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่นักบัญชี ต้นทุนจะต้องมีความเข้าใจ และสามารถที่จะประยุกต์การบัญชี ต้นทุนให้ใช้ได้กับลักษณะของธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น จากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของการบัญชีการเงิน และการบัญชี ต้นทุน ทำให้สามารถสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชี ต้นทุนได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1) การคำนวณต้นทุนขาย (Cost of Goods sold)

เป็นรูปแบบการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก ซึ่งถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบประการสำคัญของการบัญชีการเงิน ในกรณีที่กิจการเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้าโดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนขายเพื่อแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนก็สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยหลักการบัญชี ต้นทุน
แต่ในกรณีที่กิจการมีลักษณะเป็นธุรกิจผลิตสินค้าการคำนวณต้นทุนขายจำเป็นต้องอาศัยหลักการบัญชี ต้นทุนในการคำนวณต้นทุนการผลิตของสินค้าที่ผลิตได้เพื่อขาย  ซึ่งจะมีรูปแบบซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

2) การแสดงสินค้าคงเหลือ (Inventories)

การแสดงสินค้าคงเหลือนิยมแสดงผ่านรายงานทางงบดุล (Balance Sheet) ซึ่งเป็นงบการเงินชนิดหนึ่งที่การบัญชีการเงินมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการให้มีความถูกต้อง เที่ยงธรรม และเชื่อถือได้มากที่สุด

การบันทึกบัญชี ต้นทุน

การบันทึกบัญชี ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์จะแยกบัญชีออกตามลักษณะของต้นทุน คือ วัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต  หากในการผลิตนั้นจำเป็นจะต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิดจะแยกบัญชีวัตถุดิบออกตามชนิด หรือแรงงานทางตรงหากมีการผลิตในหลายแผนกหลาย หน่วยงานจะบันทึกแรงงานทางตรงของแต่ละหน่วยออกจากกัน เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายการผลิต เช่น แรงงานทางอ้อม ค่าเช่า ค่าประกันภัย ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคา  ค่าภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น

การบันทึกบัญชี ต้นทุนที่ใช้อยู่เป็นประจำ มีดังนี้

  1. บัญชีวัตถุดิบ ใช้บันทึกรับเข้าและเบิกวัตถุดิบทางตรงไปใช้โดยมีบัญชีแยกประเภทย่อยหรือบัตรวัตถุดิบสำหรับวัตถุดิบแต่ละชนิด
  2. บัญชีค่าแรง ใช้บันทึกค่าแรงที่คนงานแต่ละคนทำงานให้กับกิจการ โดยคำนวณค่าแรงจากบัตรลงเวลาหรือสมุดบันทึกการทำงาน และจะเครดิตออกเมื่อโอนต้นทุนค่าแรงเข้าบัญชีงานระหว่างทำ
  3. บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิต สำหรับบันทึกค่าที่ใช้จ่ายในการผลิต ปกติเมื่อเกิดรายจ่ายขึ้นจะบันทึกไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายประเภทนั้นแล้วโอนมาเข้าบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตภายหลัง
  4. บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน สำหรับบันทึกการโอนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าการผลิต โดยปกติมักมีการกำหนดเกณฑ์หรืออัตราในการโอนไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจมียอดไม่เท่ากับบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงจนกว่าจะมีการโอนปิดบัญชี
  5. บัญชีงานระหว่างทำ ใช้เป็นที่รวมต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่กำลังดำเนินการผลิต บัญชีนี้จึงรับโอนต้นทุนมาจากบัญชีวัตถุดิบ บัญชีค่าแรงและบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน
  6. บัญชีสินค้าสำเร็จรูป เป็นบัญชีที่รวบรวมต้นทุนของสินค้าที่ผลิตสำเร็จและยังไม่ได้จำหน่าย โดยรับโอนต้นทุนมาจากบัญชีงานระหว่างทำ และจะเครดิตออกเมื่อได้จ่ายหรือขายสินค้าออกไป

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจัดทำบัญชีต้นทุนของกิจการจึงเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีบริหาร (Managerial accounting) โดยนำมาร่วมกันในการวางแผน ควบคุม ประเมินและวัดผลการดำเนินงานขององค์กรและหน่วยงานต่างๆในองค์กร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการตั้งราคาขาย ร่วมงานประมูล จัดส่งเสริมการขาย ร่วมทั้งจัดงานลดราคาประจำปีเพราะการทราบถึงต้นทุนที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์จะทำให้กิจการสามารถวางแผนสร้างกำไรที่มากขึ้นมากกว่าการเสียเงินจ้างนักบัญชี ต้นทุนและยังคุ้มค่ากับการเสียเวลาในการเก็บข้อมูลเพื่อจัดทำต้นทุนผลิตภัณฑ์อีกด้วย

การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
หนังสือมอบอำนาจ

หนังสือมอบอํานาจ 7 โอนรถ ทั่วไป ที่ดิน ขนส่ง WORD

หนังสือมอบอํานาจ หนังสือมอบอำนาจ ตัวอย่างหนังสือมอบอํานาจบริษัท วิธีเขียนหนังสือมอบอํานาจ บุคคลทั่วไป ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ ตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอํานาจ เอกสารสูญหาย
ปก การตลาดออนไลน์

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง เบื้องต้น

การทําการตลาดออนไลน์ มีอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์ ทําอะไรบ้าง การตลาดออนไลน์เบื้องต้น แผนการตลาดออนไลน์ ตัวอย่าง การตลาดออนไลน์ กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ ทําการตลาดออนไลน์ ให้ได้ผล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม เสีย 7% ภายในกี่วัน VAT ในอัตรา

ภาษีมูลค่าเพิ่ม การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในกี่วัน VAT 10 คืออะไร ภาษีมูลค่าเพิ่ม กี่เปอร์เซ็น รายได้เท่าไรต้องจด VAT ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปัจจุบันเก็บในอัตราใด ใครจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายมีดังนี้ Tax คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดยังไง ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษาอังกฤษ ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร VAT 0 กับ Non VAT สถานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มคือที่ใด บุคคลธรรมดา จด vat หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ รายได้เกิน 8 ล้าน แต่ไม่ได้จด vat สาขา SBT คือ บริษัท ไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับโรคโควิด หนังสือ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีบำรุงท้องที่คืออะไร หน่วยงานใดมีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากร ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไร ภาษีสรรพสามิต คืออะไร ภาษีซื้อ หมายถึง
ปก การจัดการธุรกิจออนไลน์

การจัดการธุรกิจออนไลน์ แนวคิด มีขั้นตอนอะไรบ้าง

การจัดการธุรกิจออนไลน์ หมายถึง การทําธุรกิจออนไลน์ มีอะไรบ้าง แนวคิด การทําธุรกิจออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ มีขั้นตอนอะไรบ้าง วิธีการบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ การทําธุรกิจออนไลน์ คือ หลักการบริหารร้านค้า วิธีการสร้างธุรกิจใหม่มี 3 วิธี
Scroll to Top