3 สิ่งต้องรู้ ก่อนคำนวณ ต้นทุนขาย งบต้นทุนการผลิต ไม่มีพลาด?

ต้นทุนขาย
ต้นทุนขาย งบต้นทุนขาย สินค้าคงเหลือ หมายถึง งบต้นทุนการผลิต การคํานวณ ต้นทุนการผลิต การบัญชี ต้นทุน
Click to rate this post!
[Total: 196 Average: 5]

ต้นทุนขาย

ต้นทุนขาย
ต้นทุน ขาย

ต้นทุนขาย คือ ( cost of good sold ) ต้นทุนที่ได้มาของสินค้า เช่น หากประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตสินค้า ต้นทุนขายจะหมายรวมถึง ต้นทุนในกระบวนการผลิตทั้งหมด เช่น ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆเป็นต้น โดยต้นทุนขายจะปรากฏอยู่บนงบกำไรขาดทุนของกิจการ และยังเป็นส่วสหนึ่งของ งบต้นทุนการผลิตอีกด้วย

ต้นทุนขาย-คือ
ต้นทุน ขาย-คือ

cost of good sold หรือ cogs คือ ต้นทุนที่ใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้านั้น หากว่าบริษัทหรือผู้ขายเป็นผู้ผลิตสินค้านั้นเอง ต้นทุนขายจะเป็นการรวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าแรง ค่าต้นทุนวัตถุดิบ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในการผลิตสินค้าโดยตรง แต่หากเป็นกรณีที่ไม่ได้เป็นผู้ผลิตเอง ต้นทุนขาย มักจะเป็นราคาต้นทุนที่มาจากการจ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้านั้นมาขาย โดยตัวต้นทุน ขายจะปรากฏอยู่บนงบกำไรขาดทุนของบริษัท 

สูตร การหาต้นทุนขาย 

ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

การบันทึกบัญชีต้นทุนต้นทุน ขาย คือ ต้นทุนของสินค้าที่กิจการได้ขายไปในระหว่างงวดบัญชี กิจการสามารถคํานวณ ต้นทุน ขายได้โดยตรงด้วยการนําจํานวนหน่วยที่ขายมาคูณกับราคาต่อหน่วย หรือคํานวณโดยอ้อม ด้วยการนําราคาทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวดไปหักออกจากต้นทุนสินค้าที่มีไว้ขาย

ประกอบด้วยรายการ 3 รายการด้วยกัน คือ

  1. สินค้าคงเหลือวันต้นงวด
  2. ต้นทุนการซื้อ สุทธิ
  3. และสินค้าคงเหลือปลายงวดที่ยังขายไม่ได้

เจ้าของกิจการส่วนใหญ่อยาก มักจะทราบว่าต้นทุนสินค้าที่ขายได้ในแต่ละงวดบัญชีสูงขนาดไหน เป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของยอดขายเพื่อวางแผน และนำไปปรับใช้ในกิจการต่อไป

สมการบัญชี
สมการบัญชี
ต้นทุนขาย-
ต้นทุน ขาย

สูตรต้นทุนขาย ต้นทุน ขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ต้นทุนการซื้อสุทธิ – สินค้าคงเหลือปลายงวด

  • สินค้าคงเหลือต้นงวด และสินค้างคงเหลือปลายงวด
    • สินค้าคงเหลือต้นงวดนั้น ถ้ากิจการเพิ่งเริ่มดําเนินการในปีที่ 1 จะไม่มีสินค้าคงเหลือต้นงวดในงบกําไรขาดทุน ถ้าสินค้าซื้อมาแล้ว ขายไม่หมดจึงจะมีสินค้าคงเหลืออยู่ในปีที 1
    • สินค้านี้จะเป็นสินค้าคงเหลือปลายงวดได้โดยการปิดบัญชี บริษัททำการตรวจนับ ในปีถัดไปสินค้าคงเหลือปลายงวดของปีที่ 1 จะกลายเป็นสินค้าคงเหลือต้นงวดของปีที่ 2
  • ต้นทุนการซื้อสุทธิ (Purchases of Merchandise)
    • การซื้อที่นํามาคํานวณหาต้นทุนขายคือ ยอดต้นทุนสินค้าที่ซื้อมา ยอดซื้อสินค้านี้เน้น ในเรื่องซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อ มีสูตรการคำนวณ ดังนี้
      • ซื้อสุทธิ = ซื้อ ส่งคืนสินค้าส่วนลดรับ + ค่าขนส่งเข้า

สูตรบัญชี

  • สินค้าส่งคืนและสวนลด (Purchases Returns and Alowances) เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ ผู้ซื้อจะทําการตรวจและนับจํานวนสินค้าว่าตรงตามใบกํากับสินค้า และตรงตามที่สั่งซื้อหรือไม่ บางครั้งผู้ซื้อพบว่าสินค้าที่ส่งมาเสียหายชํารุด สีและขนาดไม่ตรงตามสั่งจะมีการส่งคืนทันที ถ้ามีการส่งคืนสินค้าเรียกว่า Returns แต่ในบางครั้งผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลง กันได้โดยผู้ขายยินยอมลดราคาให้เรียกว่า Allowances ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีการส่งคืนตัวสินค้าหรือการให้
  • ส่วนลด ผู้ซื้อจะบันทึกไว้ในบัญชีสินค้าส่งคืนและส่วนลด และนําไปแสดงหักจากยอดซื้อสินค้าใน งบกําไรขาดทุน เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบถึงการทํางานของฝ่ายจัดซื้อว่ามีประสิทธิภาพมากน้อย แค่ไหน ถ้าตัวเลขส่งคืนเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ต้องนํามาพิจารณาเพื่อหาลู่ทางลดตัวเลขนี้ลงโดยการเปลี่ยน ระบบการจัดซื้อ วิเคราะห์และตรวจสอบการจัดซื้อ เป็นต้น
  • ส่วนลดรับ (Purchase Discounts) ส่วนลดรับเหมือนส่วนลดจ่ายตามที่ได้กล่าวมาแล้วคือ ส่วนลดจ่ายเกิดจากผู้ขายให้กับผู้ซื้อ ฝ่ายผู้ขายเรียกว่าส่วนลดจ่าย ฝ่ายผู้ซื้อเมื่อได้รับส่วนลดจะเรียกส่วนลดนี้ว่าส่วนลดรับ ส่วนลดนี้จะ ได้รับเมื่อมีการชําระหนี้ค่าสินค้าที่ซื้อเชื่อให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้
    • ตัวอย่าง บริษัท ตัวอย่าง จํากัด ซื้อเชื่อสินค้ารวมเป็นเงินเชื่อทั้งสิ้น 1,012,500 บาท โดย เงื่อนไขชําระเงิน 2/10, n/30 บริษัทสามารถชําระหนี้ได้ภายในกําหนดเวลา 10 วัน เป็นเงินเพียง 512,500 บาท ได้รับส่วนลด 2%
    • เพราะฉะนั้น ส่วนลด = 0.02 x 512,500 = 10,250 บาท (รายการที่ 7) เงินที่จ่ายชําระหนี้ = 512,500 – 10,250 = 502,250
  • ค่าขนส่งเมื่อซื้อ (Freight-in) การซื้อขายสินค้า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องทําความตกลงกันในเงื่อนไขการขนส่งขาย (Term of sale) ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ว่าใครเป็นผู้ขนส่ง แบ่งได้ ดังนี้
    • F.O.B. Shoping point (Free on board at the shipping point) ผู้ขายรับผิดชอบค่าขนส่ง จากประตูของผู้ขายไปถึงท่าเรือขนถ่ายสินค้า ดังนั้น ผู้ซื้อต้องเป็นผู้จ่ายค่าขนส่งจากท่าเรือขนถ่าย สินค้านั้นจนถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกําหนดให้ไปส่ง
    • F.O.B. Destination ผู้ขายรับผิดชอบจ่ายค่าขนส่งจากประตูโรงงานของ ผู้ขายจนถึงที่ทําการของผู้ซื้อตามที่ผู้ซื้อกําหนดให้ ราคาสินค้าที่ซื้อตามเงื่อนไขนี้ผู้ขายย่อมบวกค่า ขนส่งเข้าไปในราคาขายเรียบร้อยแล้ว
    • C.F. (Cost insurance and Freight) เป็นการระบุเงื่อนไขนี้ค่าขนส่งจะเป็นจาก จุดไหนถึงจุดไหนจะต้องเขียนไว้ให้ชัดเจน เช่น “ค่าขนส่งนี้ผู้ขายจะส่งให้ท่านถึงท่าอากาศยาน ดอนเมือง กรุงเทพฯ” ค่าขนส่งดอนเมืองถึงสถานที่ทําการของผู้ซื้อ ผู้ซื้อต้องจ่ายเอง

งบต้นทุนขาย

ต้นทุน ขาย (Cost of Goods Sold/Cost of Sales) หมายถึง ต้นทุนของสินค้าที่กิจการจำหน่ายไปในระหว่างงวดบัญชี ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

สินค้าคงเหลือต้นงวด+ซื้อสุทธิ (ซื้อสินค้า+ค่าขนส่งเข้า-ส่งคืนสินค้า-ส่วนลดรับ) – สินค้าคงเหลือปลายงวด

ต้นทุนขาย


ตัวอย่าง งบต้นทุนขายตัวอย่าง ต้นทุน การ ผลิต

งบต้นทุนขาย (Cost of Goods Sold Statement) เป็นงบที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าขาย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้              

  • ส่วนที่ 1 หัวงบ 3 บรรทัด
  • ส่วนที่ 2 สินค้าคงเหลือต้นงวด      
  • ส่วนที่ 3 ซื้อสุทธิ       
  •  ส่วนที่ 4 สินค้าคงเหลือปลายงวด
การ-บัญชี-ต้นทุน
การ-บัญชี-ต้นทุน

สินค้าคงเหลือ หมายถึง

ถ้าพูดถึงต้นทุน ขายจะไม่พูดถึงสินค้าคงเหลือคงไม่ได้ เนื่องจากเป็นบัญชีที่ที่ต้องนำไปคำนวณในการหาต้นทุน ขายหรือแม้กระทั้งอยู่ในงบต้นทุนการผลิต ก็มีส่วนที่ต้องใช้บัญชีสินค้าคงเหลือ เช่นกัน

มาตราฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ ได้ให้คำนิยามความหมายของสินค้าคงเหลือไว้ดังนี้

สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. 1. ถือไว้เพื่อขายตามลักาณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ
  2. 2. อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย
  3. 3. อยู่ในรูปของวัตถุดิบหรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ

สรุปง่าย ๆ หากสินค้ามีลักษณะที่เข้าจ้อใดข้อหนึ่งก็ให้ถือว่าเป็นสินค้าคงเหลือตาม มาตราฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง สินค้าคงเหลือ

งบต้นทุนการผลิต

ตัวอย่างต้นทุนการผลิต
ตัวอย่างต้นทุนการผลิต

ต้นทุนผลิตสินค้า (Cost of Goods Manufactured)

ต้นทุนผลิตสินค้าของกิจการอุตสาหกรรม หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิต หรือแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่าย 3 ประเภท คือวัตถุดิบ ค่าแรงงานโดยตรง และค่าใช้จ่ายในการผลิต

  1. 1.วัตถุดิบ (Raw Materials) หมายถึง สิ่งของที่กิจการอุตสาหกรรมนำมาทำการผลิตหรือแปรสภาพเป็นสินค้าสำเร็จรูป เมื่อผลิตเสร็จแล้ววัตถุดิบจะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นส่วนหนึ่งของสินค้า วัตถุดิบที่จัดเป็นต้นทุนผลิตสินค้าประเภทแรกนี้หมายถึงเฉพาะวัตถุดิบที่ใช้ไปในการผลิต (Materials Consumed) เท่านั้น
  2. 2.ค่าแรงงานโดยตรง (Direct Labour) หมายถึง ค่าแรงงานของคนงานที่ทำการผลิตหรือแปรสภาพวัตถุดิบขึ้นเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยตรง
  3. 3.ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing Overhead) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าแต่ไม่รวมถึงวัตถุดิบและค่าแรงงานโดยตรง

ตัวอย่าง งบต้นทุนการผลิต

งบต้นทุนการผลิต
งบต้นทุนการผลิต

การคํานวณ ต้นทุนการผลิต

  1. ต้นทุน-ขาย-คือ

การคิดต้นทุน กําไร การกําหนดราคาขาย

การกำหนดกำไร
การกำหนดกำไร

ราคาเป็นองค์ประกอบของส่วนประสมการตลาดที่นำรายได้ให้กับกิจการ ขณะที่องค์ประกอบอื่น ๆ ก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย ดังนั้น การกำหนดราคาที่เหมาะสมมีความสำคัญต่อกำไรของกิจการแต่การกำหนดราคาต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มลูกค้า    พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้า  ลูกค้าบางรายเลือกอาจซื้อสินค้าที่ราคาสูงแทนการเลือกสินค้าที่ราคาต่ำ ทั้งนี้เพราะลูกค้าตัดสินใจซื้อจากคุณค่าของสินค้าไม่ใช่ราคา

การกำหนดราคาขาย
การกำหนดราคาขาย

ขั้นตอนการกำหนดราคา

  • การกำหนดวัตถุประสงค์ในการกำหนดราคา
  • การพิจารณาอุปสงค์
  • การคาดคะเนต้นทุน
  • การวิเคราะห์ต้นทุน ราคา และผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน
  • การเลือกวิธีการกำหนดราคา
  • การตัดสินใจเลือกราคาขั้นสุดท้าย

1.การกำหนดราคาจากต้นทุน (Cost Based Pricing) เป็นวิธีการกำหนดราคาที่ง่ายและสะดวกที่สุด โดยใช้ต้นทุนต่อหน่วยมาเป็นพื้นฐาน ซึ่งมีวิธีการกำหนดรารา ดังนี้

  • 1.1  วิธีการกำหนดราคาแบบ Cost-Plus การกำหนดราคาวิธีนี้มาใช้ในกรณีที่กิจการไม่สามารถคาดการณ์ต้นทุนของผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าได้ หรือต้นทุนของผลิตภัณฑ์ไม่แน่นอน กิจการจึงต้องกำหนดกำไรที่แน่นอนขึ้นมาก่อน และเมื่อทราบต้นทุนต่อหน่วยแล้วจึงนำต้นทุนนั้นไปบวกกับกำไรที่ต้องการ

ราคาขาย = กำไรต่อหนาวยที่ต้องการ + ต้นทุนต่อหน่วย

  • 1.2 วิธีกำหนดราคาแบบ Mark up เป็นการบวกส่วนเพิ่มโดยใช้สมการ ดังนี้

                            Price =  Cost + Mark up หรือ ราคา = ทุน + ส่วนเพิ่ม

                            วิธีการคำนวณ Mark up มีดังนี้

    • 1)  Mark up on Cost หรือ Mark on คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาทุน
    • 2)  Mark up on Selling Price หรือ Mark up คือ การกำหนดเป็นร้อยละจากราคาขายวิธีนี้ใช้มากในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง โดยมีพื้นฐานการคำนวณมาจากต้นทุนเช่นเดียวกัน
  • 1.3 วิธีกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอยแทนตามเป้าหมาย (Target Pricing) เป็นการกำหนดราคาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment : ROI) โดยต้องการกำไรเป็นร้อยล่ะเท่าใดของเงินลงทุน (Target Profit) เข้าไปในต้นทุนของสินค้าหรือเงินลงทุน โดยใช้สมการดังนี้

ราคา = ต้นทุนต่อหน่วย + อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ * เงินลงทุนจำนวนสินค้าที่ขาย

2. การกำหนดราคาจากอุปสงค์ (Demand Based Pricing) เป็นการกำหนดราคาโดยคำนึงปริมาณความต้องการซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเรียกว่า ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา (Price Elasticity of Demand)

3. วิธีบวกเพิ่มแบบลูกโซ่ (Mark up Chain) เป็นการตั้งราคาขายสินค้าโดยบวกเพิ่มจากซึ่งการตั้งราคาของคนกลางจะต่างกับผู้ผลิต   เพราะต้นทุนของคนกลางมักจะเป็นค่าเช่าคลังสินค้า ค่าเก็บรักษาสินค้า ค่าเช่าร้าน  เป็นต้น ซึ่งยากที่จะแยกออกมาเป็นต่อหน่วยของสินค้าได้ นอกจากนี้แล้ว คนกลางมักจะจำหน่ายสินค้าหลายชนิด ดังนั้น   ในการตั่งราคาที่ง่ายที่สุดจึงเป็นการบวกเพิ่มเข้าไปในต้นทุน    หรือราคาขายของสินค้าที่ซื้อมาโดยการกำหนดเปอร์เซ็นต์ที่คิดว่าจะบวกเพิ่มให้กับสินค้าต่าง ๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของสินค้าด้วย

ตัวอย่าง  บริษัทผู้ผลิตใช้ต้นทุนการผลิต 27 บาทต่อหน่วย ผู้ผลิตต้องการส่วนบวกเพิ่ม 10% ของราคาขาย ดังนั้น  จะขายสินค้าในราคา 27+3 = 30 บาท

การบัญชี ต้นทุน

ต้นทุน คือ จำนวนเงินที่จ่ายไปเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าทุกขั้นตอนตั้งแต่การแปรสภาพวัตถุดิบจนแปรเปลี่ยนเป็นสินค้าสำเร็จรูป

การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) จึงหมายความถึง วิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร

อ่านบทความทั้งหมด >>> pangpond.com

QA

7 QC QA วิธีการ ควบคุมคุณภาพ ทำตำแหน่งอะไร ทำได้อย่างเจ๋ง!

QC QA การรับประกัน และ ควบคุมคุณภาพสินค้า qc engineer คือ การควบคุมคุณภาพ quality control คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ QA คือ ขั้นตอนการกําหนดคุณภาพ มีอะไรบ้าง วิธีการควบคุมคุณภาพสินค้า มีอะไรบ้าง ? qc โรงงาน ทําอะไรบ้าง 1.การตรวจสอบคุณภาพ วัตถุดิบ (Raw Material) 2.การตรวจสอบคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ (Packaging) 3.การตรวจสอบคุณภาพ เนื้อผลิตภัณฑ์ (Bulk) 4.การตรวจสอบคุณภาพ ระหว่างการผลิต 5.การตรวจสอบคุณภาพ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finish Good) QS คือ ประโยชน์ของการควบคุมคุณภาพ QC ตัวอย่างงาน คุณสมบัติลักษณะ 1.QC (Quality Control) การควบคุมคุณภาพ 2.QA (Quality Assurance) การประกันคุณภาพ 3.QS (Quantity Surveyor) ผู้ตรวจสอบปริมาณงาน สรุป

7 การ์ตูน และ ความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวละคร

งานวิจัยการ์ตูนญี่ปุ่น การออกแบบตัวละครมีกี่ประเภท การออกแบบคาแรคเตอร์ การ์ตูน การออกแบบคาแรคเตอร์ตัวละคร ทฤษฎีการออกแบบตัวละคร ทฤษฎีการเล่าเรื่อง narrative theory เว็บ ออกแบบ ตัวการ์ตูน ฟรี ภูมิหลัง background มีประโยชน์อย่างไรในการออกแบบตัวละคร ใกล้ฉัน ออนไลน์
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

50 ม. ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย บุคคล กี่เปอร์เซ็นต์?

ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย ภาษีเงินได้หักณที่จ่าย Withholding Income Tax ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย มาตรา50
วัฒนะธรรมระหว่างประเทศ

5 วัฒนธรรมระหว่างประเทศ ความสำคัญ คล้ายคลึง!

วัฒนธรรมระหว่างประเทศ ประเภทของวัฒนธรรม วัฒนธรรมระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน 1. ประเทศไทย 2. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 3. ประเทศมาเลเซีย
จิตอาสา

โครงการ กิจกรรมจิตอาสา 25 ช่วยสังคมส่วนรวม มีอะไรทุกคนทำได้?

โครงการกิจกรรมจิตอาสา ตัวอย่างกิจกรรมจิตอาสา จิตอาสาออนไลน์ จิตอาสามีอะไรบ้าง จิตอาสา10ข้อ กิจกรรมจิตอาสาในชุมชน กิจกรรมจิตอาสา ประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา ฟรี กิจกรรมจิตอาสา 65 กิจกรรมจิตอาสา 2565 ฟรี

3 คำว่า “เครื่องหมายคำถาม” อธิบายหน้าที่ของเครื่องหมายนี้?

เครื่องหมายสัญลักษณ์ภาษาไทย เครื่องหมายต่างๆ เครื่องหมายในภาษาไทย / หมายความว่าอย่างไร เครื่องหมายวรรคตอน เครื่องหมายอะไร ความหมายของเครื่องหมายต่างๆ / หมายถึง หรือ ใกล้ฉัน ออนไลน์
ตารางรายรับรายจ่าย

ตารางรายรับรายจ่าย #7 eXCEL ร้านค้า คำอธิบายพร้อมตัวอย่าง?

แบบฟอร์มบัญชีรายรับรายจ่าย ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายประจําเดือน วิธีทํารายรับรายจ่ายประจําวัน แบบบันทึกรายรับรายจ่ายของนักเรียน โปรแกรม รายรับ รายจ่าย ฟรี

15 คำนวณ เลขประจำวัน เริ่มต้นจาก วันที่เกิด เวลาที่เกิดด้วย?

สูตร excel นับวัน จนถึง ปัจจุบัน สูตรคํานวณวันที่ ครบกําหนด excel สูตร excel นับจำนวนวัน คํานวณระยะเวลา excel สูตรคำนวณวัน คงเหลือ สูตร excel : นับ วัน เดือน ปี สูตร excel วันจันทร์ ถึง อาทิตย์ ฟังก์ชันวันที่และเวลา excel ใกล้ฉัน ออนไลน์

Leave a Comment

Scroll to Top