จดทะเบียนการค้า

5 จดจัดตั้ง จดทะเบียนการค้าวิธีเขียนทำได้เองอย่างง่ายเลย?

Click to rate this post!
[Total: 139 Average: 5]

จดทะเบียนการค้า

จดทะเบียนการค้า

จดทะเบียนการค้า

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียน

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนการค้า

  1.      บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
  2.      ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3.      นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
  4.      ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  5.      บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

คำว่า จดทะเบียนการค้า กับ จดทะเบียนพาณิชย์ ความหมายเดียวกัน การจดทะเบียนพาณิชย์ ตาม พระราชบัญญัติตามพระราชบัญญัติ ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

  1. จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
  2. จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่จดทะเบียนไว้ ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ต้องยื่นขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ จดทะเบียนไว้เดิม
  3. จดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ เมื่อผู้ประกอบพาณิชยกิจเลิกประกอบพาณิชยกิจต้องยื่นขอจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเลิกประกอบพาณิชยกิจ

จัดตั้งบริษัทใหม่

การจัดตั้งบริษัทใหม่โดยการ จดทะเบียนพาณิชย์ สามารถแบ่งออกได้ 4 รูปแบบ คือ

  1. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็น บุคคลธรรมดา
  2. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล และกิจการร่วมค้า
  3. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ
  4. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจํากัด) บริษัทจํากัด และบริษัทมหาชนจํากัด

เอกสารที่ใช้ในการจด

ในการจดทะเบียนพาณิชย์แต่ละประเภท ผู้ขอจดทะเบียนต้องเตรียมคำขอและ เอกสารประกอบสำหรับการจดทะเบียนเรื่องนั้น ๆ ให้ครบถ้วนถูกต้องตามรายละเอียดที่ปรากฏ

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนการค้า

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนการค้า

1. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน

  1. คําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
  2. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
  3. สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
  4. กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เป็นเจ้าบ้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    1. หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่
    2. สําเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสําเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    3. แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจและสถานที่สําคัญบริเวณ ใกล้เคียงโดยสังเขป
  5. หนังสือมอบอํานาจ (ถ้ามี)
  6. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้รับมอบอํานาจ (ถ้ามี)
  7. กรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่น วีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ส่งสําเนาหนังสืออนุญาต หรือ หนังสือรับรองให้เป็นผู้จําหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือ ให้เช่า หรือ สําเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ
  8. กรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือ เครื่องประดับซึ่งประดับด้วย อัญมณี ให้ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจํานวนเงินทุน โดยเชิญผู้ประกอบพาณิชยกิจมาให้ ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐานดังกล่าวแทนก็ได้

2.กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล และกิจการร่วมค้า

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน

  1. คําขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)
  2. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  3. สําเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  4. หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลหรือกิจการร่วมค้า
  5. หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่
  6. สําเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอ เลขที่บ้าน หรือสําเนาสัญญาเช่าโดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
  7. แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานแห่งใหญ่และสถานที่สําคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  8. หนังสือมอบอํานาจ ติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ถ้ามี)
  9. สําเนาบัตรประจําตัวของผู้รับมอบอํานาจ (ถ้ามี)
  10. กรณีประกอบพาณิชยกิจการขาย หรือให้เช่า แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดิทัศน์ แผ่น วีดิทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดิทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง ให้ส่งสําเนาหนังสืออนุญาต หรือหนังสือรับรองให้เป็นผู้จําหน่ายหรือให้เช่าสินค้าดังกล่าวจากเจ้าของลิขสิทธิ์ของสินค้าที่ขายหรือ ให้เช่า หรือสําเนาใบเสร็จรับเงินตามประมวลรัษฎากร หรือหลักฐานการซื้อขายจากต่างประเทศ
  11. กรณีประกอบพาณิชยกิจการค้าอัญมณี หรือ เครื่องประดับซึ่งประดับด้วย อัญมณี ต้องดําเนินการและให้ส่งเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    1. ตรวจสอบและเรียกหลักฐานแสดงจํานวนเงินทุน โดยเชิญผู้ประกอบ พาณิชยกิจมาให้ข้อเท็จจริงของแหล่งที่มาของเงินทุน หรือชี้แจงเป็นหนังสือพร้อมแนบหลักฐาน ดังกล่าวแทนก็ได้
    2. หลักฐานหรือหนังสือชี้แจงการประกอบอาชีพหุ้นส่วนจําพวกไม่จํากัด ความรับผิด หรือกรรมการผู้มีอํานาจของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แล้วแต่กรณี
  12. กรณีเป็นกิจการร่วมค้าให้แนบหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนของห้าง หุ้นส่วนจดทะเบียน (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด บริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชน จํากัด แล้วแต่กรณี

กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

  1. บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
    1. ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
    2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
    3. นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
    4. ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
    5. ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
    6. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
    7. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
    8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    9. บริการอินเทอร์เน็ต
    10. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
    11. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    12. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
    13. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
    14. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
    15. การให้บริการตู้เพลง
    16. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ตาม 1.4-1.5 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
    1. ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
    2. ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
    3. ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
    4. บริการอินเทอร์เน็ต
    5. ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
    6. บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    7. การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
    8. การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
    9. การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
    10. การให้บริการตู้เพลง
    11. โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ากิจการค้าที่ดำเนินการนั้นต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ หากเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนพาณิชย์

กิจการที่ได้รับยกเว้น

มีพาณิชยกิจบางอย่างที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

  1. การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  2. พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
  3. พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
  5. พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  6. พาณิชยกิจซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การยื่นคําขอจดทะเบียน

  • เมื่อผู้ประกอบพาณิชยกิจเริ่มประกอบกิจการอันอยู่ในข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ให้ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์โดยใช้แบบพิมพ์คําขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.) ซึ่งขอได้จากพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือดาวน์โหลดจาก www.dbd.go.th มากรอกข้อมูลตามความเป็นจริงแล้วยื่นคําขอและ เอกสารประกอบคําขอจํานวน 1 ชุด ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สํานักงานทะเบียนพาณิชย์ในเขตที่ สํานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
  • การยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะไปยื่น ด้วยตนเองหรือจะมอบอํานาจให้ผู้อื่นไปยื่นแทนก็ได้ โดยแนบหนังสือมอบอํานาจด้วย
  • เมื่อยื่นคําขอแล้ว ถ้านายทะเบียนพาณิชย์เห็นว่าถูกต้องก็ให้ชําระค่าธรรมเนียม รับจดทะเบียนและออกใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค.0403) ให้ไว้เป็นหลักฐาน
  • ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการใด ๆ จากที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้แล้ว หรือ ต้องการเลิกประกอบพาณิชยกิจ ให้ใช้แบบพิมพ์คําขอจดทะเบียน (แบบ ทพ.) และให้กรอกรายการ ให้ครบถ้วนถูกต้องแล้วยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
  • เอกสารประกอบคําขอจดทะเบียนพาณิชย์ทุกหน้าให้นายทะเบียนประทับตราคําว่า “เอกสารนี้เป็นเอกสารประกอบคําขอที่…………………….รับวันที่……………………” ไว้ด้วย

สถานที่จดทะเบียนการค้า

ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์  www.bangkok.go.th/finance

ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่

  • เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกำกับดูแลการจดทะเบียนพาณิชย์และภูมิภาค กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

ขั้นตอนการจดทะเบียนการค้า แบบออนไลน์

เข้าเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ https://www.dbd.go.th ก็สามารถดำเนินการจดทะเบียนการค้าแบบออนไลน์ได้ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ เพียง

  • ลงทะเบียนในระบบเพื่อใช้งาน
  • จองชื่อนิติบุคคล
  • ทำรายการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมยื่นเอกสารผ่านระบบออนไลน์
  • ลงรายมือชื่อ
  • ชำระค่าธรรมเนียม
  • พิมพ์ใบเสร็จรับเงิน และรอรับเอกสาร

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการค้า

  • จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
  • จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
  • จดทะเบียนยกเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
  • ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
  • ขอให้เจ้าหน้าที่คัดลอกสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (ผู้ประกอบกิจการค้า) ฉบับละ 30 บาท
ตัวอย่างทะเบียนการค้า

ตัวอย่างทะเบียนการค้า

ตัวอย่าง ทะเบียนการค้า

ตัวอย่าง ทะเบียนการค้า

แบบ ทพ

แบบ ทพ

แบบ ทพ. ตัวอย่าง

แบบ ทพ. ตัวอย่าง