คําวิเศษณ์ 7 ชนิดของ บุพบท ไทย คือ ประเภทของ

คําวิเศษณ์
Click to rate this post!
[Total: 2552 Average: 5]

คําวิเศษณ์

 

         ความหมายของคําวิเศษณ์ คำที่บ่งชี้ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น สี กลิ่น รส ขนาด รูปทรง นอกจากนี้ยังบ่งชี้ ปริมาณ สถานที่ จำนวน คำวิเศษณ์จะทำหน้าที่ประกอบคำนาม, คำสรรพนาม, คำกริยา และคำวิเศษณ์ด้วยกันให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น

ชนิดของคําวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิด 

  1. ลักษณะวิเศษณ์ คือ คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะต่างๆ เช่น บอกชนิด สี ขนาด สัณฐาน กลิ่น รส เสียง อาการ บอกความรู้สึก เช่น ดี ชั่ว ขาว ดำ ใหญ่ เล็ก ร้อน เย็น หอม เหม็น หวาน เปรี้ยว กลม แบน เปรี้ยง โครม เร็ว ช้า  เป็นต้น 

             –  น้ำเย็นอยู่ในกระติกสีดำ

             –  ชามใบเล็กราคาแพงกว่าจานใบใหญ่

  1. กาลวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์บอกเวลา  เช่น  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  อดีต  อนาคต บ่าย เที่ยง เย็น ค่ำ เป็นต้น 

          –  พรุ่งนี้เป็นวันเกิดของคุณแม่

          – คนโบราณ ไม่ชอบทำงานเวลา กลางคืน

         – คนดีเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกับคนดีแต่ก่อน

  1. สถานวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์บอกสถานที่  เช่น ใกล้ ไกล  บน  ล่าง  เหนือ ใต้  ซ้าย ขวา  บก น้ำ เป็นต้น

         –  บ้านฉันอยู่ไกลตลาด

         –  จากทิศเหนือเขาล่องเรือไปทิศ ใต้

คำวิเศษณ์ชนิดนี้ ถ้ามีคำถามหรือสรรพนามมารับข้างหลัง นับว่าเป็นคำบุพบท เช่น

           – พระพุธรูปประดิษฐานอยู่บนหิ้ง

           – ปากกาวางอยู่เหนือหัว

  1. ประมาณวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์บอกจำนวน หรือปริมาณ

4.1 ) บอกจำนวนนับ ใช้เป็นตัวเลข หรือตัวหนังสือได้ เช่น หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ที่หนึ่ง ที่สอง

          –  เรามีเงินเก้าบาท

4.2 ) บอกจำนวนปริมาณ ไม่ได้บอกชัดว่าเท่านั้นเท่านี้ เป็นแต่กำหนดว่ามากหรือน้อย พอจะรู้ความหมายของปริมาณ เช่น มาก น้อย ทั้งหลาย ทั้งหมด ต่าง บาง

          –  มาหาฉันบ่อยๆนะ

  1. ประติเษธวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์ที่แสดงความปฏิเสธ การไม่ยอมรับ  เช่น  ไม่  ไม่ใช่  มิ  มิใช่  ไม่ได้  หามิได้  เป็นต้น 

            –  เขาไม่ได้มาคนเดียว

            –  ความประพฤติเช่นนั้นมิใช่เป็นการที่ควรกระทำ

  1. ประติชญาวิเศษณ์ คือ ร้องเรียก เสียงขานรับ ชนิดของคำที่แสดงความสละสลวยทางภาษา และแสดงความเป็นกันเองระหว่างผู้พูด เช่น จ๋า ขอรับ ค่ะ โว้ย โวย เป็นต้น 

           –  พี่ครับมีคนมาหาขอรับ

           –  สวัสดีค่ะคุณแม่

  1. นิยมวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์ที่บอกความชี้เฉพาะทางบุพบท เช่น นี้ นั่น โน่น แน่นอน เป็นต้น

           –  บ้านนั้นใครอาศัยอยู่

           –  เขาเป็นคนไม่ขยันแน่ๆ

  1. 8. อนิยมวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะของคำในภาษาไทย เช่น ใด อื่น ไหน เป็นต้น

           –  เธอจะมาเวลาใด

           –  เรานั่งเก้าอื้ตัวไหนก็ได้

  1. ปฤจฉาวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือชนิดของคำในภาษาไทยแสดงความสงสัย  เช่น อะไร  ที่ไหน ทำไม  เป็นต้น 

           –  กางเกงราคาเท่าใด

           –  เขาจะไปที่ไหน

  1. ประพันธวิเศษณ์ คือ  คำวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่ประเภทของคำเชื่อมคำประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน เช่นคำว่า ที่  ซึ่ง  อัน  ให้ เพื่อ เป็นต้น 

           –  เขาทำงานหนักเพื่อมีเงินเก็บมากๆ

           –  การทำความดีอันหาที่สุดไม่ได้

หน้าที่ชนิดของคำไทยวิเศษณ์   

       ในประโยคของคำวิเศษณ์จะใช้เพิ่มความหมายชนิดของคำในภาษาไทยคำที่เพิ่มความหมายในประโยคภาษาไทย กล่าวได้ว่าเป็นชนิดและหน้าที่ของคำเป็นส่วนขยาย 

  1. ทำหน้าที่ขยายคำนาม ทำหน้าที่ของคำ

          –  ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย  

  1. ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม

          –  ฉันเองเป็นคนพูด  

  1. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา หรือ คำกริยาวิเศษณ์ 

          –  นักกีฬาวิ่งเก่ง

  1. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์

          –  ฝนตกแรงมาก  

  1. ทำหน้าที่เป็นตัวแสดง

          –  ขนมนี้อร่อยดี

คำคืออะไร

             คำ คือ หน่วยทางภาษา สำหรับสื่อความหมาย ประกอบด้วยตัวอักษร พยางค์หนึ่ง พยางค์มากกว่าหนึ่งพยางค์ขึ้นไป ซึ่งในแต่ละคำจะมีรากศัพท์ของคำทำให้ผู้ฟังและผู้อ่าน เข้าใจในความหมาย เข้าใจในที่มาของคำ แต่ละคำที่มาประกอบหรือผสมกัน ส่งผลให้เกิดเป็นวลีเป็นประโยค สำหรับใช้ในการสื่อความหมายให้เกิดความชัดเจนและละเอียดอ่อนทางถ้อยคำ ทางวลีมากยิ่งขึ้น

Preposition คำบุพบท คือ ทำหน้าที่ของคำเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคำ  ข้อความ ประโยค  เชื่อมคำนามกับคำนาม แสดงความสัมพันธ์ของคำนามเพื่อให้เกิดเป็นความต่อเนื่อง ช่วยให้ข้อความและประโยคมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ประเภทของคำบุพบท แบ่งได้เป็น 4  ชนิด  คือ                

  1. คำบุพบทบอกถึงสถานที่ เช่น ใน นอก ใต้ บน ใกล้  ไกล                                            
  2. คำบุพบทบอกความเป็นเจ้าของ เช่น  ของ  แห่ง                                                              
  3. คำบุพบทบอกความประสงค์ เช่น สำหรับ แก่ เพื่อ โดย ตาม                     
  4. คำบุพบทบอกเวลา เช่น เมื่อ ตั้งแต่ จนกระทั่ง 

         คำบุพบทที่มักใช้เป็นคำขยายกันมาก เช่น แด่  แก่  ตั้งแต่  กับ  บน  ล่าง  เหนือ  ใต้  ข้าง  ริม  ไกล  ใกล้  ถึง  จาก  สำหรับ  เฉพาะ  ของ  ด้วย  เพื่อ  จน  ตั้งแต่  ต่อ  ประมาณ

         คำบุพบทบางคำเป็นได้ทั้งคำบุพบท คำวิเศษณ์ และบางครั้งอาจเป็นคำกริยาภาษาไทย จะสังเกตเห็นจากการใช้คำที่ต่างกัน  คือคำบุพบทต้องนำหน้าคำที่อยู่ข้างหลัง  จะใช้ตามลำพังไม่ได้  แต่คำวิเศษเป็น คำคุณศัพท์ภาษาไทย Adjective ต้องใช้ประกอบคำที่อยู่ข้างหน้า                                                                                                               

ตัวอย่างคำวิเศษณ์
ตัวอย่างคำวิเศษณ์

ตัวอย่างคำวิเศษณ์ในภาษาไทย

 เขายืนอยู่เวลานี้ ส่วนคุณยืนอยู่ข้างนอก  (คำวิเศษณ์บอกเวลา)

บ้านเขาอยู่ริมคลอง 

คำไทยมี 7 คำ

      มีลักษณะเป็นชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ประกอบด้วย

  1. คำนาม คือ คำที่มีหน้าที่สำหรับเป็นตัวประธานหรือกรรมของประโยค และในบางกรณียังสามารถใช้เพื่อขยายคำนามด้วยกันเองได้ ตัวอย่างเช่น นาฬิกาเพชร
  2. คำสรรพนาม คือ การใช้คำในภาษาไทยที่ใช้สำหรับทำหน้าที่แทนคำนามในประโยค เมื่อคำนามใดก็ตามถูกกล่าวถึง และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น ฉัน เธอ คุณ
  3. คำวิเศษณ์ คือ ทำหน้าที่เป็นคำขยาย ซึ่งมีความคล้ายกับคำวิเศษณ์ซึ่งเป็นชนิดของคำไทย แต่จะขยายเฉพาะคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันเท่านั้น ตัวอย่างคำวิเศษณ์ เช่น บ่าย อดีต ไกล
  4. คำกริยา คือ คำหลักที่บ่งบอกชนิดของการแสดงของในประโยค สามารถแสดงให้เห็นถึง ท่าทาง สภาพ อาการของสิ่งต่างๆที่กำลังดำเนินไป ตัวอย่างเช่น เดิน วิ่ง กลิ้ง นอน เจ็บ ปวด
  5. คำสันธาน คือ คำที่มีหน้าที่ในการเชื่อมประโยคเข้ากับประโยค เพื่อสร้างชนิดคำที่เป็นประโยคความรวมหรือประโยคความซ้อน
  6. คำบุพบท คือ ความหมายของคำบุพบทคำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำนามกับคำนามด้วยกัน สามารถแสดงความสัมพันธ์ของคำนามออกมาได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น แมวของเธอ
  7. คำอุทาน คือ ประเภทของคำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ  เสียใจ  ประหลาดใจ เรียกได้ว่าช่วยบ่งบอกชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคให้ชัดเจนและมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น อาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด ตัวอย่างเช่น อุ๊ย  เอ๊ะ  ว้าย  โธ่  อนิจจา  อ๋อ 

รู้จัก!! คำกริยาภาษาไทย

หน้าที่ของคำกริยา

        จากการจำแนกคำในภาษาไทย ทำให้เข้าว่า คำหมายของคำกริยา  ทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยค ตัวอย่างคำ ขนมวางอยู่บนโต๊ะ                            

         คำต่างๆในภาษาไทย เป็น ลักษณะของคำ ที่บ่งบอกประเภท อธิบายคำและชนิดของคำ การกำหนดเอาไว้อย่างชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ทางภาษาของคนไทย ที่มีวัฒนธรรม มีภาษาเป็นของตนเอง ตั้งแต่สมัยสุโชทัย จาก ศิลาจารึก “ลายสือไทย” ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในการทรงประดิษฐ์อักษรไทย ชนิดคำไทยแท้แต่โบราณ สืบทอดมาจนถึงสมัยอยุธยา ตรงกับในรัชสมัยครองราชย์ของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากหนังสือเล่มแรกของสยามโดยท่านพระโหราธิบดี คือ “หนังสือจินดามณี” กำหนดตัวอักษร รายงานชนิดของคำ และใช้กันมาจนถึงในยุคปัจจุปันนี้ แม้ว่าจะมีการดัดแปลง เพิ่มเติมแต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเป็นอักษรไทย เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น หาที่ใดในโลกเสมอเหมือนไม่ได้

          นับเป็นความภาคภูมิใจของคนไทย ที่มีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ และกำหนดให้ทุกๆ วันที่ 29 กรกฏาคมของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของภาษาไทย จึงเป็นความโชคดีที่คนไทยมีภาษาไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่ในโบราณกาล เป็นภาษาที่มีความสละสลวย งดงามในการฟังและการอ่านยิ่งนัก โดยเฉพาะเมื่อนำมาแต่งร้อยเรียงเป็น ถ้อยคำ เป็น กาพย์ กลอน โคลง ละครต่างๆ สามารถใช้เป็นคติทางความเชื่อ คำสอนใจ สร้างความบันเทิง ตลอดจนเพื่อการสื่อสารกัน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ให้คงอยู่เคียงคู่กับคนไทยตลอดไปและดำรงคงไว้ให้ลูกหลานของชาวไทยให้เกิดความยั่งยืนคงอยู่ไว้สืบนานเท่านาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แหล่งอ้างอิง :

http://www.kr.ac.th/el/02/surang/04.html

https://www.facebook.com/Kruaeykruaey/posts/987297031658319/

https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/webcontest2003/100team/dlnes055/Index4.html

http://www.esarntech.ac.th/system/images/working/zStartUpd/about7.html

 

strategy

กลยุทธ์ 3 ข้อ ธุรกิจ วางแผน ระดับองค์กร อะไร

กลยุทธ์ กลยุทธ์ คือ แผน กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ ทางการ ตลาด คือ กลยุทธ์ CSR คือ อะไร กลยุทธ์ การ ตลาด คือ กลยุทธ์ seo คือ กลยุทธ์ synergy คือ กลยุทธ์ ป่า ล้อม เมือง คือ กลยุทธ์ 4p คือ กลยุทธ์ imc คือ กลยุทธ์ differentiation คือ กลยุทธ์ ต้นทุน ต่ำ คือ กลยุทธ์ white ocean strategy คือ กลยุทธ์ 7ps คือ กลยุทธ์ 3 ระดับ คือ กลยุทธ์ 3c คือ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ 3r คือ กลยุทธ์ tows matrix คือ กลยุทธ์ การ ตลาด สมัยใหม่ ยุค 3.0 คือ อะไร กลยุทธ์ CSV คือ กลยุทธ์ blue ocean คือ กลยุทธ์ 5c คือ
ปก การสร้างส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า

การสร้าง ส่งเสริมความสัมพันธ์กับ ลูกค้า

การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า มีอะไรบ้าง ความสัมพันธ์กับลูกค้า ตัวอย่าง กลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 4 ขั้นตอน การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า kfc กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คืออะไร การสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้า
ปก การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

การสร้างสรรค์เนื้อหาโดยใช้ภาษานิยม

กลวิธีการใช้ภาษา กลวิธีการใช้ภาษา มีอะไรบ้าง วิจัยกลวิธีการใช้ภาษา วิจัย การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์ วิเคราะห์การใช้ภาษาโฆษณา กลวิธีการใช้ภาษาในรายการโทรทัศน์ ปัญหาการใช้ภาษาไทยในสื่อออนไลน์ ลักษณะ รูป แบบ การใช้ภาษาในสื่อออนไลน์
ปก พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

เรียนรู้ สร้าง พัฒนาแอปพลิเคชัน สำหรับมือถือ

ขั้น ตอน การพัฒนา แอ พ พลิ เค ชั่ น 4 ขั้น ตอน ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขั้นตอนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน มีความสําคัญอย่างไร เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวางแผนการทำงานพัฒนาแอปพลิเคชัน คือ เครื่องมือข้อใด ขั้นตอนการพัฒนาแอพพลิเคชั่น 7 ขั้นตอน ขั้นตอนที่เป็น หัวใจสำคัญ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่ ใช้แนวคิดใดในการพัฒนา การพัฒนาแอพพลิเคชั่น
ปก บริหารจัดการความเสี่ยง

บริหารจัดการความเสี่ยง ป้องกัน ฉ้อโกงในธุรกิจ

ความเสี่ยงการทุจริต ตัวอย่าง ตัวอย่าง การประเมินความเสี่ยงการทุจริตdoc การบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริต ตัวอย่าง การบริหารความเสี่ยงของบริษัท ความเสี่ยงการทุจริต มีอะไรบ้าง ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน การจัดการความเสี่ยงในองค์กร ตัวอย่างการจัดการความเสี่ยง
การทำอาหาร

การทำอาหาร 11 วิธี ทำกับข้าว ประกอบอาหาร

การทำอาหาร ความปลอดภัยในการทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ง่ายๆ ทํา อาหาร 5 ขั้น ตอน เรื่อง การทำอาหาร การ เขียน บรรยาย การทำอาหาร เกร็ดความรู้ การทำอาหาร เมนูอาหาร แนวคิด การทำอาหาร ขั้น ตอน การทำอาหาร ภาษาอังกฤษ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไทย 10 ประกอบ อาชีพ ดำรงชีวิต

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมาย ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเข้าใจ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ความสําคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างภูมิปัญญาไทย
ปก Cloud Computing จัดการธุรกิจ

ใช้งานเทคโนโลยี Cloud Computing จัดการธุรกิจ

Cloud Computing มีอะไรบ้าง ประเภทของ cloud computing คุณสมบัติของ cloud computing model การให้บริการ cloud computing มี 3 ประเภทคือ ประโยชน์ของ cloud computing Cloud Computing คือ การประยุกต์ใช้ cloud computing ในด้านธุรกิจ ข้อดีของ cloud computing คือ

Leave a Comment

Scroll to Top