วิธี ค่าเผื่อ 7 การบันทึกบัญชี หนี้สงสัยจะสูญ

การบันทึกบัญชีลูกหนี้
Click to rate this post!
[Total: 555 Average: 5]

การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ก่อนจะทำรายหรือลงบัญชีลูกหนี้การค้า หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญ หรือต้องการปรับปรุงบัญชีเกี่ยวกับ หนี้สงสัยจะสูญ หรือหนี้สูญ ต้องทำความเข้าใจหลักการที่เกี่ยวข้องก่อน ดังนี้

หลักการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้หลักการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้

  1. 1. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
    • จากยอดขาย
    • จากยอดลูกหนี้
  2. 2. ปรับประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
  3. 3. ตัดลูกหนี้เป็นหนี้สูญ
    • เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
    • ไม่เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
  4. 4. หนี้สูญได้รับคืน
    • เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร
    • ไม่เข้าเกณฑ์ประมวลรัษฎากร

การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สามารถคำนวณได้ 2 วิธีดังนี้

1. การคำนวนจากร้อยละของยอดขาย วิธีการนี้จะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการในอดีต และประสบการณ์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้เทียบเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่กับยอดขาย วิธีการนี้ เหมาะกับกิจการที่มียอดขายเงินสดอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ เมื่อเทียนบกับยอดขายทั้งหมด

2. คำนวณจากร้อยละของยอดลูกหนี้ เพราะลูกหนี้เท่านั้นที่ก่อให้เกิดหนี้สูญ สามารถคำนวณได้ 2 วิธี ได้แก่

  1. 2.1 คำนวณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้สำหรับลูกหนี้ทั้งหมดแบบคงที่
  2. 2.2 คำนวนโดยจำแนกอายุของหนี้ค้างชำระ หมายความว่า หนี้ที่ค้างชำระนานกว่า ก็ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดหนี้สูญ ในกรณีที่กิจการมีลูกหนี้จำนวนมาก อาจทำให้การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญมีความยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม หากวิธีนี้สามารถใช้สะท้อนการประมาณการที่สมเหตุสมผลมากกว่า

ลูกหนี้ หมายถึง

สิทธิที่กิจการจะได้รับเงินสดหรือ ทรัพยากรหรือประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอื่นๆ เมื่อถึง กําหนดชําระ สิทธิที่จะเรียกร้องอย่างหนึ่งของเจ้าหนี้ในการที่ จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสด หรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายว่าจะได้รับชำระเต็มจำนวนเมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือจำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

ลูกหนี้การค้า หมายถึ ลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่กิจการได้ส่งแจ้งหนี้หรือได้ตกลงอย่างเป็นทางการกับผู้ซื้อ

การบันทึกบัญชีเมื่อเกิดลูกหนี้

Dr.ลูกหนี้                                                    xx

Cr.รายได้จากการขายสินค้า/บริการ                            xx

การบันทึกบัญชี

บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

1. กิจการประมาณจำนวนลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้ เพื่อให้ได้มูลค่าของลูกหนี้เป็นมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับสุทธิ (ลูกหนี้ – ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

Dr. หนี้สงสัยจะสูญ                                   xx.-

Cr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                                        xx.-

(ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

2. ปรับปรุงและทบทวนประมาณการลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้เป็นประจำ (หากคำนวณแล้วมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการบรรทุกบัญชี หากเท่าเดิมให้รับรู้ไว้)

กรณีลูกหนี้เข้าเกณฑ์เงื่อนไขประมวลรัษฎากร

1 เมื่อมีกิจการแน่ชัดแล้วว่าไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้แน่นอน และต้องตัดเป็นหนี้สูญ

Dr.หนี้สูญ                                   xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการจตัดจำหน่ายหนี้สูญ)

Dr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                xx.-

Cr.หนี้สงสัยจะสูญ                         xx.-

(บันทึกการลดยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญลงเท่ากับจำนวนลูกหนี้ที่จัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญ)

2. เมื่อกิจการได้รับเงินจากลูกหนี้ที่กิจการเคยตัดเป็นหนี้สูญไปแล้ว (ภายหลังลูกหนี้นำเงินมาชำระ)

Dr.ลูกหนี้                                    xx.-

Cr.หนี้สูญได้รับคืน                         xx.-

(บันทึกหนี้สูญได้รับคืน)

Dr.เงินสด                                   xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดชำระไปแล้ว)

กรณีลูกหนี้ไม่เข้าเกณฑ์เงื่อนไขประมวลรัษฎากร

1. เมื่อมีกิจการแน่ชัดแล้วว่าไม่ได้รับเงินจากลูกหนี้แน่นอน และต้องตัดเป็นหนี้สูญ

Dr.ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ                xx.-

Cr.ลูกหนี้                                    xx.-

(บันทึกการตัดจำหน่ายลูกหนี้หนี้สูญ)

2. เมื่อกิจการได้รับเงินจากลูกหนี้ที่กิจการเคยตัดเป็นหนี้สูญไปแล้ว (ภายหลังลูกหนี้นำเงินมาชำระ)

Dr.ลูกหนี้                                    xx.-

Cr..ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ               xx.-

(ตั้งยอดลูกหนี้เพื่อตัดจำหน่ายลูกหนี้)

Dr.เงินสด                                   xx.-

Cr.เงินสด                                    xx.-

(บันทึกการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่ตัดชำระไปแล้ว)

หนี้สงสัยจะสูญ หมายถึง ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเรียกเก็บไม่ได้ เมื่อเกิดหนี้ก้อนหนึ่งที่บริษัทคาดว่าจะไม่สามารถเก็บเงินได้ หรือเก็บได้เพียงบางส่วน บริษัทจะดำเนินการประมาณการตัวเลข เพื่อบันทึกเป็นค่าเพื่อหนี้สงสัยจะสูญ ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เป็นการบันทึกบัญชีเพื่อปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ในงบดุลที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อให้ยอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้ในงบดุลเป็นมูลค่าสุทธิของลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินได้จริง

วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง (Direct Write- Off Method)

วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง หมายถึง เมื่อถึงวันสิ้นรอบบัญชี หากกิจการมีลูกหนี้การค้าหรือลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงาน กิจการได้มีการทวงถามจนถึงที่สุดแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง เช่น ใบเสนอราคา ใบส่งของ สัญญา ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้  กิจการจะนำบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวมาตัดเป็นหนี้สูญ

วิธีนี้จะไม่มีการประมาณค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้ในปีที่มีการขายแต่จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่เรียกเก็บไม่ได้จริง โดยบันทึกบัญชีดังนี้

Dr.หนี้สูญ                                               xxx

Cr. ลูกหนี้                                                     xxx

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ อยู่หมวด สินทรัพย์

Tag : การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สหกรณ์ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บวกกลับ , การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs9 , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ภาษาอังกฤษ , การ คํา น วณ ยอดลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด , การ ตรวจ สอบ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ประโยชน์ , การตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มาตรฐานการบัญชี , หนี้สงสัยจะสูญ เกินความต้องการ , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs9 , การวิเคราะห์งบอายุลูกหนี้มีประโยชน์อย่างไร , ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ tfrs 9 , การตัดหนี้สูญ ทางบัญชี ทางภาษี , หนี้สงสัยจะสูญ ภาษาอังกฤษ , มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 101 , หนี้สงสัยจะสูญ งบกําไรขาดทุน , การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ มีกี่วิธี , การตรวจสอบบัญชีลูกหนี้ , การโอนกลับรายการบัญชีมีประโยชน์อย่างไร , การปิดบัญชี คืออะไร , การปิดบัญชีคืออะไร

ปป

วิธีการพัฒนาและบริหารจัดการออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 5 รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วิจัย การบริหารจัดการองค์กรในยุค new normal การเรียนการสอนออนไลน์ หมายถึง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนออนไลน์ โครงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โควิด 19
ปิดกิจการ

เลิกบริษัท 10 ตัวอย่าง ปิดบริษัท งบเลิก ชำระบัญชี

จดทะเบียนเลิกบริษัท สาเหตุการเลิกกิจการ ปิดบริษัท ขั้นตอนการปิดบริษัท การเตรียมเอกสารสำคัญสำหรับการจดเลิกบริษัท สรุป
ภาษีหักณที่จ่าย

50 ทวิ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบ ฟอร์ม ล่าสุด ตัวอย่าง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คือ การหักภาษี ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย กำหนดเวลาออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย วิธีทำ หัก ณ ที่จ่าย วิธีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดาวน์โหลด หัก ณ ที่จ่าย ฟรี ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ไม่นำส่ง หรือ นำส่งไม่ครบถ้วน ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี เงินได้ กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ภายในประเทศ กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ต่างประเทศ
ใบเสร็จรับเงิน

ใบเสร็จรับเงิน 7 ตัวอย่าง ที่ถูกต้อง วิธีเขียน

ใบเสร็จรับเงิน การออก ใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง สรรพากร บุคคลธรรมดา ออกบิลเงินสด ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน ภาษาอังกฤษ ใบเสร็จ ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด ใบเสร็จรับเงิน บุคคลธรรมดา excel
ปป

การใช้การตลาดผ่านสื่อสังคม (Social Media Marketing) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับธุรกิจออนไลน์

social media marketing หมายถึง social media marketing ข้อดี ข้อเสีย social media marketing มีอะไรบ้าง Social Media Marketing ตัวอย่าง social media marketing สมัครงาน social media ใช้ทำการตลาดได้อย่างไร social media marketing ข้อควรระวัง ลักษณะของ social media marketing
ฝันเห็นคนตาย

ฝันเห็นคนตาย 7 เลข ถึงเสียชีวิต เพื่อน แฟน ญาติ

ฝันเห็นคนตาย ฝันเห็นคนตาย ฝันว่าเห็นญาติตาย ฝันเห็นคนอื่นตาย ฝันเห็นการฆ่า ฝันว่าเห็นการฆาตกรรม ฝันเห็นงานศพ / ฝันเห็นที่ฝั่งศพ ฝันว่าเผาศพ ฝันว่าฝังศพ ฝันเห็นรถศพ ฝันเห็นโลงศพ ฝันเห็นศพลอยน้ำ ฝันว่าเอาศพไปซ่อน
จิตอาสา

กิจกรรมจิตอาสา 7 โครงการกิจกรรมจิตอาสา ตัวอย่าง ออนไลน์

โครงการกิจกรรมจิตอาสา ตัวอย่างกิจกรรมจิตอาสา จิตอาสาออนไลน์ จิตอาสามีอะไรบ้าง จิตอาสา10ข้อ กิจกรรมจิตอาสาในชุมชน กิจกรรมจิตอาสา ประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา ฟรี กิจกรรมจิตอาสา 65 กิจกรรมจิตอาสา 2565 ฟรี
ปก แผนการเงินธุรกิจ

ตัวอย่างแผนการเงินธุรกิจ มีอะไรบ้าง sme น่าสนใจ

ตัวอย่างแผนการเงินธุรกิจ การวางแผนการเงิน มีอะไรบ้าง การวางแผนทางการเงินของธุรกิจ ตัวอย่างการวางแผนทางการเงิน ตัวอย่างแผนธุรกิจ sme ที่น่าสนใจ ตัวอย่างการวางแผนการเงินส่วนบุคคล การเริ่มต้นเป็นนักธุรกิจ smes ต้องปฏิบัติอย่างไร การวางแผนการเงินและการลงทุน

Leave a Comment

Scroll to Top