การจัดตั้งนิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร
หมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นมา หรือ หลังจาก ปีพ.ศ.2543 หากต้องการจะมีตังวตนทางกฎหมายในสังคมหมู่บ้านจัดสรร และจัดทำให้ถูฏต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น ผู้ออกกฎนั้น ได้มีการกำหนด พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันและ ต้องปฎิบัตืตาม แต่ในความเป็นจริงผู็คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมีความเห็นไม่ตรงกัน บ้างเห็นด้วย บ้างไม่เห็นด้วย กับการจัดตั้งเป็นนิติบุคคล เนื่องจาก การดำเนินการต่างๆ หลังจากการจดจัดตั้งเป็นนิติบุคคลแล้ว
การกระทำใดๆ ที่ขัดต่อข้อบังคับ หรือกฎที่กำหนดขึ้น ทำให้มีผลต่อกฎหมาย ทั้งบุคคลภายในและภายนอกทั้งสิ้น
การจัดตั้งนิติบุคคบหมู่บ้านจัดสรร จึงได้กำหนดให้ ผู็ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังของโครงการ และมีมติให้จัดตั้ง และแต่งตั้งตัวแทนไปยื่นตคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือ สาขา พร้อมด้วยข้อบังคับที่กำหนดไว้
ข้อบังคับที่ต้องมี ดังนี้
- ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
- วัตถุประสงค์
- ที่ตั้งสำนักงาน
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่งและการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชี และการเงิน
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
ในกรณีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
ขั้นตอนดังนี้
- ให้คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายและเสนอให้ ที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบ
- เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้ว ให้ คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรแจ้งให้สมาชิกทราบว่าจะจัดเก็บค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนในอัตราเท่าใด
- เมื่อแจ้งแล้วเริ่มจัดเก็บค่าใช้จ่าย จากสมาชิกภายในวันที่เท่าใดของทุกเดือน พร้อมทั้งวิธีการและสถานที่ในการจัดเก็บ
- การกำหนดวันเริ่มจัดเก็บค่าใช้จ่ายของเดือนแรกจะต้องกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกมีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย

ลูกบ้านไม่ชำระค่าส่วนกลาง
หากมีการกำหนดอัตราค่าใช้จ่าย และ ระยะเวลาที่ชัดเจนแล้ว มีลูกบ้านไม่จ่ายชำระ หรือจ่ายล่าช้า ข้อควรปฎิบัติ
ดังนี้
- กำหนด อัตราค่าปรับหรือมาตรการบังคับในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ชำระ ค่าใช้จ่ายได้ชำระเงินล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด
- หากค้างชำระเงินติดต่อกัน ตั้งแต่สามเดือนขึ้นไปและตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป รวมทั้งแจ้งให้ทราบว่าหนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็น หนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสงหาริมทรัพย์เหนือที่ดินจัดสรรของผู้ค้าง ชำระ
*กรณีการจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นก่อนมี พรบ.จัดสรรที่ดิน ปี 2543 เมื่อจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว ก็จัดเก็บตามลักษณะข้างตนได้เช่นกัน
การจัดเก็บค่าส่วนกลาง
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดทำสาธารณูปโภค หากทางนิติบุคคลได้จัดทำ วิธีการ และ กำหนดอัตราค่าส่วนกลางสาธารณูปโภค เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ถึงเวลาจัดเก็บ และรับชำระค่าส่วนกลาง
การจัดเก็บค่าส่วนกลาง และค่าการบริหารค่าใช้จ่าย
กำหนดข้อความและสิ่งที่ต้องมี ดังนี้
- ให้ออกหลักฐานการชำระทุกครั้ง และ ต้องมีสำเนาอย่างน้อย 1 ฉบับ
- ชื่อของผู้รับชำระเงิน โดยอาจเป็น ชื่อหมู่บ้าน ชื่อนิติบุคคล หรือ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดเก็บ
- วัน เดือน ปี ที่รับชำระ
- ชื่อผู้รับชำระ
- จำนวนเงินที่รับชำระ ที่เป็นตัวเลข และตัวอักษร
- ข้อความที่ระบุไว้ว่ารับชำระค่าส่วนกลางเดือนใดถึงเดือนใด
- ข้อความที่ระบุว่าเป็นค่าปรับ เนื่องจากจ่ายชำระล่าช้าต้องระบุให้ชัดเจน (ถ้ามี)
- ลายมือชื่อผู้รับ พร้อม ตราประทับของนิติบุคคลหมู่บ้าน (ถ้ามี)
*กรณีที่นิติบุคคลหมู่บ้าน มีนอกเนื่องมากกว่านี้ สามารถเพิ่มเติมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับที่กำหนดไว้ข้างตน
ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเก็บเงินค่าส่วนกลาง
ต้องมาจากการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารนิติบุคคลภายในหมู่บ้าน โดยในที่ประชุมใหญ่เป็นผู้กำหนด
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 14 มกราคม 2021 โดย Administrator