Click to rate this post!
[Total: 4023 Average: 5]
ความรู้เรื่องบริษัท
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทจำกัด
เนื่องจากการประกอบกิจการในรูปแบบของกิจการเจ้าของคนเดียวหรือห้างหุ้นส่วนต่างมีข้อจำกัดในเรื่องการลงทุนและการดำเนินงาน ดังนั้น กิจการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจึงมักจะเลือกการประกอบกิจการในรูปแบบของบริษัทจำกัด เพราะสามารถระดมเงินทุนจากผู้สนใจให้มาลงทุนในลักษณะของผู้ถือหุ้นได้ และจากการที่บริษัทเป็นนิติบุคคล จึงสามารถมีทรัพย์สินเป็นของตนเองและสามารถทำนิติกรรมต่างๆได้ บริษัทจำกัดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
บริษัทเอกชนจำกัด
- บริษัทเอกชนจำกัด คือ (Private Company Limited) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งโดยทั่วไปเรียกว่า บริษัทจำกัด อันว่าบริษัทจำกัดนั้นคือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ ลักษณะที่สำคัญของบริษัทจำกัดมีดังนี้
- มีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น แต่ละหุ้นมีค่าเท่าๆกัน และหุ้นหนึ่งมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 บาทโดยที่ผู้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าของหุ้นที่ตนถือเท่านั้น
- คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นสาระสำคัญ คือ บริษัทยังดำเนินการต่อไปได้ถึงแม้ว่าจะมีผู้ถือหุ้นคนใดตาย ไร้ความสามารถหรือล้มละลาย
การดำเนินการจัดตั้งบริษัทเอกชนจำกัด
ในการจัดตั้งบริษัทเอกชนจำกัดจะต้องดำเนินการ ดังนี้
- ต้องมีผู้เริ่มก่อการ ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และนำหนังสือบริคณห์สนธิไปยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนบริษัทแห่งท้องที่นั้น
- เมื่อผู้เริ่มก่อการได้รับใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้วต้องจัดให้มีผู้เข้าชื่อจองหุ้นจนครบตามที่กำหนดไว้
- เมื่อมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบจำนวนแล้ว ผู้เริ่มก่อการจะต้องเรียกประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น เพื่อประชุมจัดตั้งบริษัทโดยต้องส่งหนังสือเชิญประชุมไปยังผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุม การประชุมใหญ่ครั้งแรกนี้เรียกว่า การประชุมตั้งบริษัท สาระสำคัญของเรื่องที่ต้องพิจารณาในการประชุมคือ
- ทำความตกลงเกี่ยวกับการตั้งข้อบังคับต่างๆของบริษัท
- อนุมัติค่าใช้จ่ายการจัดตั้งบริษัทที่ผู้เริ่มก่อการได้จ่ายไป และได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาต่างๆที่ผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้
- กำหนดจำนวนเงินที่จะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ ถ้ามีเจตนาว่าจะให้
- กำหนดลักษณะของหุ้นบุริมสิทธิ ถ้าบริษัทจะมีหุ้นชนิดนี้
- กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิที่จะออกให้บุคคลใดที่เสมือนว่าได้ชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว เพราะบุคคลนั้นได้ชำระด้วยทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงิน
- เลือกตั้งกรรมการ ผู้สอบบัญชีและกำหนดจำนวนเงินค่าสอบบัญชี
- เมื่อได้มีการประชุมตั้งบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้คณะกรรมการบริษัทที่ได้แต่งตั้งขึ้นเข้าบริหารงานต่อไป
- คณะกรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อ ซื้อหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละยี่สิบห้า และเมื่อได้รับชำระค่าหุ้นและกรรมการจะต้องนำหนังสือบริคณห์สนธิ รายงานการประชุมและข้อบังคับของบริษัทไปขอจดทะเบียนการตั้งบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากประชุมตั้งบริษัท
บริษัทมหาชนจำกัด
- บริษัทมหาชนจำกัด คือ (Public Company Limited) บริษัทมหาชนจำกัดคือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วย วัตถุประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ ในหนังสือบริคณห์สนธิ ลักษณะที่สำคัญของบริษัทมหาชนจำกัดมีดังนี้
- บริษัทมหาชนจำกัดจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะขายหุ้นต่อประชาชน
- หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัด แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน โดยมีมูลค่าหุ้นและไม่ต่ำกว่าห้าบาท และผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระตลอดจนคุณสบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นสาระสำคัญเช่นเดียวกับบริษัทเอกชนจำกัด
การดำเนินการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด
ในการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องดำเนินการ ดังนี้
- ต้องมีผู้เริ่มจัดตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและนำไปยื่นขอจดทะเบียน ณ กรมทะเบียนการค้า หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด
- เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจึงจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้
- เมื่อมีผู้จองหุ้นครบจำนวนตามที่กำหนดไว้ในมาตร 27 แล้ว ผู้เริ่มจัดตั้งจะต้องให้มีการประชุมจัดตั้งบริษัทภายใน 2 เดือน นับตั้งแต่วันที่มีการจองหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนด หรือไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ โดยจะต้องมีผู้จองหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้องกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่จองแล้วมาประชุมจึงจะเป็นองค์ประชุม โดยสาระสำคัญของการประชุมจะเหมือนกับการประชุมจัดตั้งบริษัทเอกชนจำกัด
- เมื่อประชุมจัดตั้งบริษัทและภายใน 7 วัน ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทจะต้องส่งมอบกิจการให้คณะกรรมการบริษัทเพื่อเข้าบริหารงานต่อไป
- เมื่อได้รับมอบกิจการมาแล้ว คณะกรรมการจะมีหนังสือแจ้งให้ผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนภายในเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง และถ้าเป็นการชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ตัวเงินต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้บริษัทภายในกำหนดเวลาในหนังสือแจ้ง
- เมื่อได้รับชำระค่าหุ้นครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้ว คณะกรรมการต้องทำการขอจดทะเบียนบริษัทภายใน 3 เดือน
งบกระแสเงินสด 5 ประโยชน์ กระแสเงินสดทางอ้อม
งบกระแสเงินสด cashflow คือ ประเภทของวิธีการจัดทำงบกระแสเงินสด ประโยชน์ของงบกระแสเงินสด สรุป วิธีทํา งบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด excel งบกระแสเงินสด มีอะไรบ้าง ตัวอย่างงบกระแสเงินสดบริษัท ตัวอย่างงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสด ทางอ้อม โจทย์งบกระแสเงินสด พร้อมเฉลย งบกระแสเงินสด คือ
50 อาชีพ ต่างๆ รวม ทั้งหมด มีอะไรบ้าง !
อาชีพสุจริต 100 อาชีพ อาชีพต่างๆในปัจจุบัน อาชีพต่างๆที่น่าสนใจ 100 อาชีพมีอะไรบ้าง อาชีพต่างๆของคนไทย อาชีพทั้งหมดในโลก อาชีพสุจริต 50 อาชีพ อาชีพ20อาชีพ
อาหารคาว 9 ชนิด ยอดนิยม ไทย อะไรบ้าง หรุ่ม ของ
อาหารไทยมีอะไรบ้าง อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง เมนูอาหารไทยยอดฮิต 20อาหารไทย อาหารไทยง่ายๆ อาหารไทย10ชนิด อาหารไทยโบราณ อาหารไทยมีอะไรบ้าง อาหารไทย 100 เมนู เมนูอาหารไทย แซ่ บ ๆ
วิธีการพัฒนาและบริหารจัดการออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ 5 รูปแบบ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด – 19 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วิจัย การบริหารจัดการองค์กรในยุค new normal การเรียนการสอนออนไลน์ หมายถึง การเรียนการสอนแบบออนไลน์ แนวทางแก้ไขปัญหาการเรียนออนไลน์ โครงการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ โควิด 19
เลิกบริษัท 10 ตัวอย่าง ปิดบริษัท งบเลิก ชำระบัญชี
จดทะเบียนเลิกบริษัท สาเหตุการเลิกกิจการ ปิดบริษัท ขั้นตอนการปิดบริษัท การเตรียมเอกสารสำคัญสำหรับการจดเลิกบริษัท สรุป
50 ทวิ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบ ฟอร์ม ล่าสุด ตัวอย่าง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 50 ทวิ คือ การหักภาษี ณ ที่จ่าย หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย กำหนดเวลาออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย วิธีทำ หัก ณ ที่จ่าย วิธีจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดาวน์โหลด หัก ณ ที่จ่าย ฟรี ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ไม่นำส่ง หรือ นำส่งไม่ครบถ้วน ผู้มีหน้าที่หัก ภาษี เงินได้ กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ภายในประเทศ กรณี ผู้มีหน้าเสียภาษีอยู่ต่างประเทศ
ใบเสร็จรับเงิน 7 ตัวอย่าง ที่ถูกต้อง วิธีเขียน
ใบเสร็จรับเงิน การออก ใบเสร็จรับเงินที่ถูกต้อง สรรพากร บุคคลธรรมดา ออกบิลเงินสด ดาวน์โหลด แบบฟอร์ม ตัวอย่างใบเสร็จรับเงิน ภาษาอังกฤษ ใบเสร็จ ภาษาอังกฤษ ดาวน์โหลด ใบเสร็จรับเงิน บุคคลธรรมดา excel
การใช้การตลาดผ่านสื่อสังคม (Social Media Marketing) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับธุรกิจออนไลน์
social media marketing หมายถึง social media marketing ข้อดี ข้อเสีย social media marketing มีอะไรบ้าง Social Media Marketing ตัวอย่าง social media marketing สมัครงาน social media ใช้ทำการตลาดได้อย่างไร social media marketing ข้อควรระวัง ลักษณะของ social media marketing