กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียว คือ กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว ควบคุมการดำเนินเองทั้งหมด เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน กิจการประเภทนี้มีอยู่ทั่วประเทศจำนวนมาก ได้รับความนิยมสูงสุดและเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ที่สุด การดำเนินงานไม่สลับซับซ้อน มีความคล่องตัวสูงในการตัดสินใจดำเนินงาน กิจการมีขนาดเล็กกว่าธุรกิจประเภทอื่น ตัวอย่างกิจการประเภทนี้ เช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง ร้านเสริมสวย ร้านตัดเย็บเสื้อผ้า การทำไร่ การทำนา เป็นต้น
รูปแบบของธุรกิจ
รูปแบบของธุรกิจ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
- กิจการเจ้าของคนเดียว คือเป็นบุคคลคนเดียวที่เป็นเจ้าของที่ลงทุนโดยไม่มีหุ้นส่วนและการรับผิดชอบหนี้สินและการตัดสินใจก็จะเป็นเพียงคนเดียวเท่านั้น
- ห้างหุ้นส่วน คือการดำเนินงานทีมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และจะร่วมบริหารธุรกิจด้วยกันคือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- บริษัทจำกัด คือกลุ่มบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปร่วมกันลงทุนในรูปแบบของนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการลงทุนคนละเท่ากันจะเรียกว่าผู้ถือหุ้นและจะรับผิดชอบในหนี้สินไม่เกินจำนวนเงินที่ถือหุ้น สำหรับบริษัทเอกชนจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คน และบริษัทมาหาชนจำกัด มีผู้จัดตั้งกลุ่มอย่างน้อย 15 คน และผู้ถือหุ้นเกินกว่า 100 คน
ลักษณะของกิจการ
ลักษณะของกิจการเจ้าของคนเดียว
- มีเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ใช้เงินลงทุนน้อย
- เจ้าของกิจการมีความรับผิดชอบในหนี้สินทั้งหมดไม่จำกัดจำนวน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินของเจ้าของได้ ถ้าทรัพย์สินของกิจการไม่เพียงพอชำระหนี้
- เจ้าของกิจการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทั้งผลกำไรและผลขาดทุนเพียงคนเดียว
- การควบคุมการดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการคนเดียว
ข้อดีและข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
ข้อดี เจ้าของคนเดียว
ข้อดี กิจการเจ้าของคนเดียว
- จัดตั้งง่ายใช้เงินทุนน้อย
- มีอิสระในการตัดสินใจดำเนินงานโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ทำให้เกิดความรวดเร็วคล่องตัวในการดำเนินงาน
- ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
- รักษาความลับของกิจการได้ดี เพราะผู้รู้มีเพียงคนเดียว
- มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
- การเลิกกิจการทำได้ง่าย
ข้อเสีย เจ้าของคนเดียว
ข้อเสีย กิจการเจ้าของคนเดียว
- การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะเงินทุนมีจำกัด และถ้าต้องการกู้ยืมเงินจากภายนอกจะทำได้ยากเพราะขาดหลักประกัน
- การตัดสินใจโดยเจ้าของกิจการเพียงคนเดียวอาจมีข้อผิดพลาดได้ง่าย
- ถ้ามีผลขาดทุน ผู้ประกอบการรับผลขาดทุน และรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
- ระยะเวลาดำเนินงานมักไม่ยืนยาว ขึ้นอยู่กับเจ้าของกิจการ ถ้าเจ้าของกิจการป่วยหรือเสียชีวิตอาจหยุดชะงักหรือเลิกกิจการ
- ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว
ตัวอย่าง เจ้าของคนเดียว
ตัวอย่าง ประเภท กิจการเจ้าของคนเดียว
ประเภทกิจการ | ลักษณะ |
---|---|
1.ร้านค้าหาบเร่ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
2.ร้านขายก๋วยเตี๋ยว | กิจการเจ้าของคนเดียว |
3.ขายของออนไลน์ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
4.ขายครีม | กิจการเจ้าของคนเดียว |
5.ขายเสื้อผ้า | กิจการเจ้าของคนเดียว |
6.รับจ้างทำเว็บไซต์ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
7.เทรนเนอร์ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
8.รับวาดรูป | กิจการเจ้าของคนเดียว |
9.นายหน้า | กิจการเจ้าของคนเดียว |
10.ร้านทำผม | กิจการเจ้าของคนเดียว |
11.ขายเบเกอรี่ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
12.ที่ปรึกษาด้านการเงิน | กิจการเจ้าของคนเดียว |
13.รับทำบัญชี | กิจการเจ้าของคนเดียว |
14.ช่างซ่อมเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
15.รับแต่งหน้า | กิจการเจ้าของคนเดียว |
16.ร้านอาหาร | กิจการเจ้าของคนเดียว |
17.ร้านกาแฟ | กิจการเจ้าของคนเดียว |
18.ร้านเสริมสวย | กิจการเจ้าของคนเดียว |
การจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียวนั้นมีขั้นตอนในการจัดตั้งง่ายที่สุด เพียงแค่ทำการจดทะเบียนพาณิชย์ และหากกิจการเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนในรูปการค้าออนไลน์ ก็ต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์อีกด้วยด
สถานที่จดจัดตั้ง
การจดจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียวนั้นต้องเตรียมเอกสารสำคัญ คือ คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาสัญญาเช่าพื้นที่ไปยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์ในพื้นที่ประกอบการเมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบแล้วจะออก ใบทะเบียนพาณิชย์ ให้เจ้าของกิจการ
ระยะเวลาที่ต้องจดทะเบียน
ต้องยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เริ่มประกอบการ กิจการใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทและปรับต่อเนื่องอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้จดทะเบียน การจดทะเบียนพาณิชย์ต้องเสียค่าธรรมเนียม 50 บาท
กิจการเจ้าของคนเดียวเสียภาษี
ธุรกิจเจ้าของคนเดียวนั้นถือว่าเป็นหนึ่งเดียวกับเจ้าของกิจการ มีสถานะทางกฎหมายเป็น “บุคคลธรรมดา” เจ้าของกิจการจึงมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นแบบ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และถ้าหากธุรกิจเข้าข่ายที่จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตาม พรบ.ทะเบียนพาณิชย์ เจ้าของก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย
อัพเดทครั้งสุดท้าย เมื่อ 14 มกราคม 2021 โดย Administrator